วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทองคำกับ VAT2

ทองคำกับ VAT
เห็นราคาทองคำทุกวันนี้แล้ว ยอมรับว่าสูงพอสมควรทีเดียว ประเภทที่ว่าขึ้นแล้ว ลงยากซะด้วย
หนุ่มๆ ที่จะแต่งงานโดยใช้ทองคำเป็นสินสอดหรือใช้เป็นของหมั้น ต้องใช้เงินมากหน่อยหากต้องซื้อทองคำมาใช้ในงานนี้ ยังไงเสียไม่ว่าราคาทองคำจะถูกหรือแพงก็ต้องซื้ออยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่จะแต่งงาน มองอะไรก็สวยงามไปหมด ทองคำ ที่ขายมีทั้งทองรูปพรรณและมิใช่ทองรูปพรรณ ส่วนใหญ่คนทั่วไปก็มักจะซื้อทองรูปพรรณ เพราะราคาพอซื้อหาได้ แต่ ถ้าเป็นทองแท่ง คงเป็นรายใหญ่ที่ซื้อมาทำทองรูปพรรณจำหน่าย หรือไม่ก็มีเงินถุงเงินถังเหลือกินเหลือใช้ ซื้อมาเก็งกำไรขายต่อก็ มีเยอะ ก็ไม่ว่ากัน ซื้อขายมากครั้งเท่าใด เงินหมุนเวียนในท้องตลาดก็มีมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงภาษีจากการขายดังกล่าวก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย พูดง่ายๆว่า คนซื้อคนขายต่างก็มีความสุข สบายใจ รัฐก็ได้ภาษีมากขึ้น สำหรับคนที่ชอบสวมใส่สร้อยคอทองคำหรือเครื่องประดับ ประเภทตู้ทองเคลื่อนที่ ไม่ใช่คนสวมใส่ชอบคนเดียวครับ ผู้ร้ายก็ชอบเหมือนกัน ดีไม่ดีชอบมากกว่าผู้สวมใส่เครื่องประดับซะอีก อาจนำพาให้ผู้สวมใส่สร้อยหรือเครื่องประดับถูกทำร้ายบาดเจ็บถึงตายเอาได้ ง่ายๆ ทีนี้ มาดูกันว่าการขายทองคำและการนำเข้าทองคำ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร โดย ปกติการขายทองคำประเภททองรูปพรรณหรือมิใช่ทองรูปพรรณ หรือการนำเข้าทองคำ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ กล่าวคือ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายทองคำ ก็จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ หรือกรณีเป็นผู้นำเข้าทองคำ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บ กฎหมายได้มียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีการใช้ฐานภาษีที่นำมาคำนวณภาษีขายเมื่อขายทองคำแตกต่างไปบ้าง ดังนี้ทอง คำที่มิใช่ทองรูปพรรณ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความประสงค์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขาย ทองคำที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ ทองคำจะต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.50 กรณีเป็น ผู้นำเข้าทองคำ จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐาน เกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้า เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่า ผู้นำเข้าเป็นผู้ซื้อทองคำดังกล่าวจากผู้ขายใน ต่างประเทศกรณีเป็น ผู้ขายทองคำ จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับ การค้าทองคำหรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 311ทอง รูปพรรณ เช่น สร้อยคอ แหวน ฯลฯ หากส่งออกก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 แต่ถ้าขายในประเทศ โดยปกติจะใช้ราคาขายมาคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 แต่เนื่องจากมีร้านทองที่จำหน่ายทองคำโดยรับซื้อและขายกับบุคคลทั่วไป ขณะที่ซื้อจากคนทั่วไปที่นำทองคำมาขายหรือมาแลกเปลี่ยน ก็จะไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แต่เมื่อร้านทองขายออกไปก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายจึงได้กำหนดให้มูลค่าของทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน ในวันที่ขายทองรูปพรรณ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษี (ประกาศอธิบดีภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40) แต่ทั้งนี้ ผู้ขายทองคำต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการขายทองรูป พรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องเสียจากการขายทองรูปพรรณในกรณีนี้จะคำนวณจากราคา ขายทองรูปพรรณรวมกำเหน็จ หักออกด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศกำหนด ผลลัพธ์ส่วนต่าง ให้นำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทองรูปพรรณนั้น ครับ การขายทองคำหรือการนำเข้าที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายสินค้าทั่วไป.

โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=finance&id=239682