วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

precast ยงสวัสดิ์







1.ให้ดูการวางคานกับเสา
2.ให้ดูรอยต่อของคานกับfooting
3.ให้ดูการติดตั้งเสา



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การคิดงานมุงหลังคา


การคิดงานมุงหลังคา
การหาปริมาณของวัสดุมุงหลังคา เช่น กระเบื้อง ครอบมุม ต้องแยกออกตามชนิดและขนาดของวัสดุมุง โดยต้องคิดหักส่วนที่จะต้องซ้อนทับกับทางด้านข้างและด้านยาวตามความลาดของหลังคา และเผื่อวัสดุอันอาจเสียเศษใช้การไม่ได้หรือแตกเพราะขนส่ง วัสดุมุงหลังคาคิดหน่วยเป็นแผ่น วัสดุยึดแผ่นมุง เช่น ขอเหล็ก ตะปูเกลียว คิดหน่วยเป็นตัว โดยแยกตามชนิดและความยาว ส่วนค่าแรงมุงหลังคาคิดจากพื้นที่ตามแนวลาดของหลังคามีหน่วยเป็นตารางเมตร
ตัวอย่าง กระเบื้องลอนคู่ใยหิน ขนาดกว้าง 50 ซม. ยาว 1.20 เมตร ซ้อนทับทางด้านข้าง 5 ซม. ทางด้านยาว 20 ซม. จะเหลือพื้นที่ของกระเบื้องหนึ่งแผ่นเท่ากับ (0.50 – 0.05) (1.20 – 0.20) = 0.45
ตารางเมตร ถ้าพื้นที่หลังคาด้านหนึ่งตามแนวลาดเท่ากับ 5 x 15 ตารางเมตร ต้องใช้กระเบื้องอย่างน้อย = 5 แถว ๆ ละ = 34 แผ่น รวมจำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้หนึ่งด้าน = 5 x 34 = 170 แผ่น
เมื่อมุงทั้งสองด้านจะใช้กระเบื้อง 170 x 2 = 340 แผ่น ครอบตะเข้สัน 34 แผ่น (ใช้เท่ากับจำนวนกระเบื้องในหนึ่งแถว) ขอเหล็กยึดกระเบื้อง 680 ตัว (ใช้ 2 ตัวต่อกระเบื้องหนึ่งแผ่น) อนึ่ง อาจคิดเคร่า ๆ ได้ว่าต้องใช้กระเบื้องทั้งหมด = 334 แผ่น และควรเผื่อเสียหายประมาณ 3 – 5 %


ถาม
บ้านผมมุงหลังคากระเบื้องซีแพคโมเนียมา 20 ปีแล้ว แต่บ้านเกิดการทรุดเพราะใช้เข็มสำหรับหลังคากระเบื้องลอนคู่ อยากทราบว่าผมจะเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องลอนคู่โดยใช้โครงสร้างเดิมที่รองรับหลังคากระเบื้องซีแพคโมเนียได้หรือไม่ เพราะไม่อยากรื้อทำโครงสร้างหลังคาใหม่ และอยากทราบค่าแรงมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่ด้วยครับ หลังคาบ้านมีลักษณะเป็นจั่ว มีพื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตรขอบคุณครับ
ตอบ
จากที่คุณเล่ามาว่าบ้านเกิดการทรุดตัว แต่ไม่ได้บอกว่าทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน ผมขอให้ข้อสังเกตไว้สองกรณีนะครับ กรณีแรกถ้าบ้านทรุดตัวจนเกิดความเสียหายมาก การเปลี่ยนหลังคาคงช่วยอะไรไม่ได้ครับ คงต้องหาวิธีแก้ไขอย่างอื่น กรณีที่สองหากบ้านเพิ่งเริ่มทรุดหรือทรุดในระดับที่เห็นว่ายังไม่หนักหนามาก ถ้าจะเปลี่ยนวัสดุมุงเพื่อลดน้ำหนักของโครงสร้างก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องรื้อโครงหลังคาเดิมออก ค่าแรงในการมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตารางเมตรละ 20 บาท พื้นที่หลังคา 100 ตารางเมตร ก็ประมาณ 2,000 บาทครับ (ราคานี้อาจเผื่อ บวกลบ10 เปอร์เซ็นต์) ส่วนรายละเอียดการมุงหลังคา ดูได้จากภาพประกอบครับหมายเหตุ ค่าแรงมุงหลังคากระเบื้องลอนคู่อ้างอิงจากตารางราคากลางวัสดุและค่าแรงของกรมยุทธโยธาทหารบก

ข้อแนะนำในการออกแบบ อาคาร อยู่อาศัยรวม

ข้อแนะนำในการออกแบบ อาคารประเภท อยู่อาศัยรวม(แฟลต อพาร์ทเม้นท์และคอนโดมิเนียม)
1. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินที่จะใช้ก่อสร้าง
1.1ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่จะก่อสร้างว่าขัดผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงฉบับที่ 414(พ.ศ. 2542) หรือไม่
1.2 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎกระทรวง , เทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติ กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทหรือไม่ และอาคารที่ท่านจะก่อสร้าง มีข้อห้ามหรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
1.3 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎหมายของหน่วยราชการอื่นที่ห้ามก่อสร้างหรือมีข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารนอกเหนือจากพ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือไม่เช่นบริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหาร,บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ , ข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง ฯลฯ สอบถามข้อมูลได้ที่ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม 2 หรือสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานเขตพื้นที่
2. แนวร่นของอาคาร
2.1 อาคารพักอาศัยมิใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องปฏิบัติดังนี้
2.1.1 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า6เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร
2.1.2 อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร ที่ก่อสร้างใกล้ถนนสาธารณะ
(1) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า10เมตรให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร
(2) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน20เมตรให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
(3) ถ้าถนนสาธารณะนั้น มีความกว้างเกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
2.2 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษต้องปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ต้องร่นแนวผนังห่างเขตที่ดินผู้อื่น และห่างถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.2.2 ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า12เมตรติดถนนสาธารณะมีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า10เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และหากอาคารมีพื้นที่อาคารเกินกว่า 30,000 เมตรที่ดินต้องอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า18เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร
2.2.3 อัตราส่วนพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันต่อพื้นที่ดิน (FAR) ต้องไม่เกิน 10 : 1
2.3 ต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ดิน
2.4 หลักเกณฑ์ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในบริเวณดังกล่าว (ถ้ามี)
2.5 กฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542)
2.5.1.อาคารที่ก่อสร้างริมถนนสายหลักตามบัญชีรายชื่อถนนตามข้อ8ของกฎกระทรวงฯต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตทางไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.5.2. อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งแม่น้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.5.3อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งคลองตามบัญชีรายชื่อคลองตามข้อ10ของกฎกระทรวงฯต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งคลองไม่น้อยกว่า 6 เมตร หากอาคารที่ก่อสร้างไม่อยู่ริมฝั่งคลองในบัญชีรายชื่อดังกล่าวต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งคลองไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.6 อาคารที่ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำสาธารณะเช่นแม่น้ำ คู คลอง ลำรางหรือลำกระโดงถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า10เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า3เมตรถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าอาคารใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543 ข้อ 42)
3. ความสูง
3.1 ความสูงของอาคาร
3.1.1 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบโดยวัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
3.1.2 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสองสายนั้นไม่เกิน 60 เมตร และส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน 60 เมตร ความสูงของอาคาร ณ จุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า
3.1.3อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันความสูงของอาคารณจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่าและความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 60 เมตร
3.2 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงพื้นต้องไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร
4. จำนวนที่จอดรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) กรณีห้องพักมีพื้นที่แต่ละหน่วยตั้งแต่60ตารางเมตรขึ้นไปให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คัน ต่อ 1 หน่วย
5. ระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องมีคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งของกฎกระทรวงฉบับที่51(พ.ศ.2540)ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
6. ระบบป้องกันอัคคีภัย
6.1 กรณีอาคารที่ก่อสร้างไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่39(พ.ศ.2537)กฎกระทรวงฉบับที่47(พ.ศ.2540)และกฎกระทรวงฉบับที่55(พ.ศ.2543)และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
6.2 กรณีอาคารที่ก่อสร้างเข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและระบบเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่33(พ.ศ.2535)กฎกระทรวงฉบับที่50(พ.ศ.2540)และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
7. กฎหมายของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง อาคารที่มีจำนวนห้องพักอาศัยตั้งแต่80ห้องขึ้นไปต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯก่อนจึงจะมายื่นขออนุญาตต่อกรุงเทพมหานครได้
8. การยื่นขออนุญาต
8.1 กรณีอาคารสูงไม่เกิน 4 ชั้นและสูงไม่เกิน15เมตรให้ยื่นขออนุญาตที่สำนักงานเขตท้องที่
8.2 กรณีอาคารสูงเกิน 4 ชั้นขึ้นไปให้ยื่นขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 247 - 0077

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สถาปัตย์

รูปตึกสวยๆ
http://www.gotarch.com/index.html

คุณวิญญู และ ยอดเยี่ยม
http://www.se-ed.net/winyou2/100_1000_1/index.htm

precast 2


การเปรียบเทียบระบบหล่อ ณ สถานที่ก่อสร้าง กับหล่อที่โรงงาน ของระบบผนัง ค.ส.ล. รับน้ำหนัก
: กรณีศึกษา ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย โครงการเอื้ออาทรประชานิเวศน์ และโครงการเอื้ออาทรหัวหมาก กรุงเทพมหานคร

Authors:
ชาญชัย ธวัชเกียรติศักดิ์
Advisor:
ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Advisor's Email:
Trirat.j@Chula.ac.th
Subjects:
โครงการบ้านเอื้ออาทรกำแพงคอนกรีตคอนกรีตเสริมเหล็กอาคารสำเร็จรูป
Issue Date:
2547
Publisher:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract:
ศึกษากระบวนการก่อสร้างของการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูประบบผนังรับน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบระหว่างการหล่อ ณ สถานที่ก่อสร้าง กับหล่อที่โรงงาน ศึกษาเรื่องปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้ง 2 โครงการ
รวมถึงศึกษาเรื่องต้นทุน ระยะเวลา แรงงาน และ คุณภาพของการก่อสร้างของการผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูประบบผนังรับน้ำหนัก
โดยการนำแบบอาคาร F1 พื้นที่ใช้สอย 1903.5 ตารางเมตร มาเป็นกรณีศึกษา
การดำเนินวิธีวิจัยใช้วิธีการเฝ้าสังเกต จดบันทึกและถ่ายภาพเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การติดตั้งชิ้นส่วนสำเร็จรูปในการก่อสร้าง การสัมภาษณ์และการตอบ แบบสอบถาม
จากผลการศึกษาต้นทุนก่อสร้างแบบอาคาร F1 โครงการผลิตในสถานที่ก่อสร้าง เท่ากับ 4,457.02 บาท/ตารางเมตร
สำหรับต้นทุนค่าก่อสร้างแบบอาคาร F1 โครงการที่มีการผลิตที่โรงงาน เท่ากับ 5,207.16 บาท/ตารางเมตร
ซึ่งโครงการที่มีการผลิตที่โรงงานจะมีราคาที่สูงกว่า
จะได้ราคาต้นทุนที่สร้างแบบอาคาร F1 ที่สูงกว่า 1,427,892.33 บาทหรือราคาสูงขึ้น 750.14 บาท/ตารางเมตร
โครงการที่มีการผลิตที่โรงงานใช้เวลาก่อสร้างอาคารแบบ F1 ทั้งหมดประมาณ 120 วัน
ซึ่งเมื่อเทียบกับโครงการผลิตในสถานที่ก่อสร้างอาคารแบบ F1 ใช้เวลา 181 วัน
ใช้เวลาก่ออาคารแบบ F1 สร้างน้อยกว่า 61 วัน ความรวดเร็วในการก่อสร้างทั้งโครงการ
โครงการที่มีการผลิตที่โรงงาน ก่อสร้างอาคารรวมทุกแบบทั้งโครงการ เร็วกว่าโครงการผลิตในสถานที่ก่อสร้างอยู่ 13 อาคาร ภายในระยะเวลา 1 ปี
โครงการที่มีการผลิตที่โรงงาน ใช้คนจำนวนคนติดตั้งหลัก อาคารแบบ F1 18-19 คน
ในขณะที่โครงการผลิตในสถานที่ก่อสร้างใช้คนจำนวนคนติดตั้งหลัก อาคารแบบ F1 26 คน ใช้คนงานติดตั้งมากกว่า
ข้อเสนอแนะการวางแผนโครงการ บริหารจัดการงานก่อสร้างที่ละเอียดรอบคอบ เข้มงวดและรัดกุม ทำให้รู้ถึงปัญหา ความสูญเสีย ข้อจำกัดต่างๆ ปรับช่วงเวลาการทำงาน ติดตามแก้ไขแผนงานที่วางไว้ให้เป็นตามจริงตลอดเวลา สามารถใช้กำลังคน เครื่องมือ และจำนวนเงินอย่างประหยัด งานเสร็จตามแผนเวลากำหนด เหล่านี้ ส่งผลให้งานก่อสร้างมีคุณภาพ เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีความปลอดภัยในการก่อสร้าง
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2348

precast concrete



อาคารสำเร็จรูป
------------------------------------------------------
ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ความเป็นมา

ระบบสำเร็จรูปถูกใช้ในการก่อสร้างอาคารเพื่อเหตุผลหลักๆ คือ ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
ความรวดเร็วในการก่อสร้าง และคุณภาพของงานที่ออกมามีมาตรฐาน ระบบสำเร็จรูปเป็นผลพวงจาก
เครื่องมือที่ดีขึ้นและระบบการขนส่งในช่วงศตวรรษที่ 19 ในระยะแรกส่วนประกอบของระบบสำเร็จรูป
มักจะใช้ไม้และเหล็กเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากการใช้ในอาคารพักอาศัยและอาคารสาธารณะต่างๆ ตัวอย่าง
ที่สำคัญที่เป็นตัวอย่างแห่งวิวัฒนาการที่สำคัญของระบบสำเร็จรูปเกิดขึ้นในช่วงสงคราม Crimean
ในช่วงปี 1854-1855 ในเวลาสองเดือนที่พักทหารจำนวน 1400 หลัง สามารถสร้างได้ด้วยระบบ
สำเร็จรูป ในอังกฤษ ก่อนที่จะถูกส่งไปที่สู้รบจริงซึ่งอยู่ห่างออกไป 5000 กม. แต่ละหลังใช้ไม้เป็น
โครงสร้างหลักและผนัง เพื่อเป็นที่พักให้แก่ทหารอังกฤษและฝรั่งเศสจำนวนประมาณ 20-25 คน
ต่อหลัง อีกตัวอย่างที่สำคัญของระบบสำเร็จรูปคือ Crystal Palace ที่ London ซึ่งสร้างไว้สำ
หรับงาน Expo ในปี 1851 ส่วนประกอบต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำเร็จรูปของเหล็ก กับกระจก เป็น
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอันก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมของอังกฤษ ซึ่งสามารถผลิตชิ้นส่วนต่างๆ
ของอาคารได้แล้ว
ในช่วงศตวรรษที่ 19 คอนกรีตเสริมเหล็กเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
ข้อได้เปรียบของวัสดุนี้คือ ส่วนประกอบหลักเป็น ทราย หิน กรวด น้ำ ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถหาได้โดยง่าย
ทั่วไป และสามารถก่อรูปได้มากมายหลายรูปแบบ ในแง่ของโครงสร้างก็มีความแข็งแรง ทนทานต่อ
สภาพแวดล้อม คอนกรีตเสริมเหล็กจึงเข้ามาแทน ไม้ เหล็ก อย่างรวดเร็ว ส่วนประกอบสำเร็จรูปที่เคย
ใช้เหล็กหรือ ไม้ในอดีต ระบบ Precast Concrete จึงถูกพัฒนาขึ้น Precast Concrete
ถูกใช้ครั้งแรกโดย W.H. Lascells ในอังกฤษ เมื่อปี 1878 เขาใช้ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จบางๆ
มาประกอบเข้ากับเสาไม้และใช้ตงคอนกรีตหล่อสำเร็จเป็นโครงสร้างพื้นสำหรับบ้านหลังเล็กๆ
ระบบสำเร็จรูปได้ถูกพัฒนาในระดับสูงเมื่อพัฒนาการทางการขนส่งและเครื่องมือในการยกของ
หนักหรือเครนในการก่อสร้าง โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความต้องการที่พักอาศัยมี
อย่างมากมาย ในระยะเริ่มต้นนั้นส่วนประกอบสำเร็จในการก่อสร้างอาคารมีทั้ง พื้นสำเร็จรูป โครงสร้าง
ทางด้านตั้ง ผนังภายนอก บันได ส่วนประกอบทางสุขภัณฑ์ เหล่านี้จะทำให้การก่อสร้างจำนวนมากๆ
มีมาตรฐานในการก่อสร้างมากขึ้น
ความต้องการระบบก่อสร้างแบบสำเร็จรูปมาถึงยุครุ่งเรืองที่สุดในช่วงปี 1950s, 1960s
และปี 1970s ในยุโรปตะวันออก ซึ่งระบบสำเร็จกลายเป็นกระบวนการก่อสร้างหลักของประเทศ
เหล่านี้ ทางฝั่งยุโรปตะวันตกก็มีการก่อสร้างสำเร็จมากขึ้นเพื่อการก่อสร้างเมืองใหม่ขึ้นมาข้างเคียง
บ้านเรือนสมัยเก่าและอาคารที่พักสมัยใหม่ต่างๆ ระบบคอนกรีตสำเร็จรูปเข้าไปไปในอเมริกาซึ่งมี
ความเชี่ยวชาญในระบบสำเร็จรูปแบบเบาของการทำบ้านสำเร็จรูปขนาดเล็กที่เรียกว่า Mobile
House ซึ่งเป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำเป็นหลัก ในช่วงต้นปี 1970s อเมริกามีความต้อง
การสร้างอาคารชุดที่พักอาศัยขนาดใหญ่มากมาย ทำให้ระบบคอนกรีตสำเร็จรูปอยู่ในความสนใจ
ของวงการก่อสร้างในอเมริกามากขึ้น
กล่าวได้ว่าระบบก่อสร้างสำเร็จรูปเกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออาคารที่พักอาศัยเป็นหลักในระ
ยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตามระบบสำเร็จรูปนี้ได้ถูกทบทวนและนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียกับระบบก่อ
สร้างแบบเดิมเพื่อตัดสินใจในการเลือกแนวทางอยู่เสมอ ความไม่เข้าใจในระบบของผู้ออกแบบและ
ผู้ก่อสร้างทำให้อาคารสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างไม่ประสบความสำเร็จในหลายๆ โครงการ เมื่อเปรียบ
เทียบต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของระบบสำเร็จรูปทำให้นักลงทุนหรือเจ้าของอาคารเลือก
ที่จะใช้กระบวนการก่อสร้างแบบเดิมๆ ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ความต้องการในระบบสำเร็จแบบเต็มรูป
แบบมีความนิยมลดน้อยลงเรื่อยๆ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีในการก่อสร้างและการขนส่ง เปิดโอกาสให้ระบบสำเร็จกลับมาได้รับความ
นิยมอีกครั้ง หากสถาปนิกหันมาทำความเข้าใจและศึกษาในหัวข้อนี้อย่างจริงจัง ระบบสำเร็จรูปก็น่าจะ
เป็นทางเลือกในการก่อสร้างที่ดีอีกทางหนึ่ง


รูปแบบของระบบสำเร็จรูป

เนื่องจากในประเทศไทยคอนกรีตเสริมเหล็กยังคงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง รูปแบบสำเร็จ
รูปในการก่อสร้างจึงเน้นเป็น Precast Concrete ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบหล่อกับที่ (Site
Cast) และ หล่อจากโรงงาน (Plant Cast)
Site Cast Units
โครงสร้างคอนกรีตสามารถที่จะหล่อสำเร็จก่อนที่จะยกไปติดตั้งโดยใช้เครนยก การหล่อสำเร็จ
ที่ที่ก่อสร้างมีข้อได้เปรียบการหล่อจากโรงงานหลายประการ เช่น สามารถหล่อส่วนประกอบที่มีขนาด
ใหญ่กว่า เพราะไม่ต้องคำนึงถึงการขนส่งมาก เหมาะสำหรับการหล่อคานขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องคำนึงถึง
กำลังในการยกของเครนด้วย ข้อเสียคือ ในภาวะที่อากาศเลวร้ายจะทำให้การก่อสร้างล่าช้า และต้อง
เผื่อเวลาในการเซตตัวของคอนกรีต
Precast Concrete ที่นิยมหล่อกับที่ได้แก่ พื้นหรือผนัง เพราะจะช่วยลดขั้นตอนในการ
ขนคอนกรีตขึ้นไปเทบนอาคาร การออกแบบพื้นหรือผนัง Slab สำเร็จหรือส่วนประกอบสำเร็จรูปอื่นๆ
จะต้องคำนึงถึงการยกด้วยเครนเสมอ หากส่วนประกอบเหล่านั้นถูกยกทางแนวราบ วิศวกรจะต้องคำนวณ
การรับน้ำหนักของตัวเอง เพื่อป้องกันการแตกหักขณะยก
Plant Cast Units
ในประเทศแถบหนาวหรือประเทศในแถบที่มีอากาศแปรปรวน การก่อสร้างมักจะประสบปัญหา
ความล่าช้าในการก่อสร้าง การทำส่วนประกอบสำเร็จรูปจากโรงงานจึงเป็นทางออกหนึ่ง ส่วนประกอบ
เหล่านั้นอาจจะหล่อกับพื้นโรงงานที่สามารถปรับอากาศก่อนที่จะยก ขนส่งไปยังที่ก่อสร้างอาคารต่อไป
การหล่อสำเร็จจากโรงงานจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตและง่ายต่อการควบคุมคุณภาพของชิ้น
ส่วนต่างๆ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกส่งไปที่ก่อสร้างทางรถยนต์เป็นหลัก ซึ่งจะถูกจำกัดด้วยกฎหมายจราจร
ของแต่ละประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นตัวกำหนดขนาดมาตรฐานในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ กล่าวคือ จะต้อง
สามารถขนส่งในท้องถนนได้ หน่วยของ Pre-cast มักจะออกแบบเป็น Modular ในรูปทรงที่
มาตรฐานสองสามแบบ เพื่อมาประกอบเป็นส่วนใหญ่ต่อไปในที่ก่อสร้าง
เมื่อชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหล่านี้ถูกส่งมาถึงที่ก่อสร้างจะถูกนำไปประกอบเป็นอาคารอย่างรวดเร็ว
ทำให้ผลกระทบจากภาวะอากาศน้อยลง และชิ้นส่วนสำเร็จเหล่านี้ไม่ต้องรอการเซตตัวของคอนกรีต
เหมือนแบบหล่อกับที่
ระบบคอนกรีตสำเร็จรูป สามารถแยกตามระบบการประกอบเป็น
1. ระบบโครง (Skeleton Systems)
2. ระบบแผ่น (Panel Systems)
3. ระบบกล่อง (Box Systems)
4. ระบบผสม (Mixed System)
ระบบโครง (Skeleton Systems)
เป็นระบบที่แยกส่วนประกอบของโครงสร้างเฟรมออกเป็นส่วนประกอบสำเร็จรูป เช่น เสา คาน
แผ่นพื้น เป็นต้น ทำให้ง่ายต่อการขนส่ง นำมาประกอบที่ที่ก่อสร้าง นิยมใช้ในการก่อสร้าง ที่จอดรถ
สะพาน โกดัง อาคารทางอุตสาหกรรม สนามกีฬา และอื่นๆ ที่เน้นโครงสร้างขนาดใหญ่
ระบบแผ่น (Panel Systems)
ระบบแผ่น เป็นแบบที่ได้รับความนิยมในอาคารสำเร็จรูปแบบเต็มรูปแบบ แผ่นสำเร็จนี้มีทั้ง แผ่น
พื้นสำเร็จรูปและแผ่นผนังสำเร็จรูป ซึ่งจะทำให้การติดตั้งรวดเร็วกว่าระบบโครงสำเร็จรูปอย่างมาก ทั้งนี้
แผ่นสำเร็จรูปเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างในตัวด้วย แต่ไม่ค่อยจะได้รับความนิยมเท่าไรนัก เนื่อง
จากไม่มีพื้นฐานในการใช้โครงสร้างผนังรับน้ำหนักเหมือนในยุโรปและอเมริกา ระบบแผ่นสำเร็จรูปนี้อาจ
จะออกแบบให้มีระบบร้อยสายไฟและระบบท่อในตัวด้วย และควรจะมีส่วนประกอบทางฉนวนในตัวเพื่อ
ลดขั้นตอนในการก่อสร้างที่ที่ก่อสร้าง ประตู หน้าต่างอาจจะติดมาด้วยหรือไม่ก็ได้ ระบบนี้นิยมใช้ในอา
คารประเภท ที่พักอาศัย สำนักงาน โรงงาน โรงแรม และอื่นๆ ที่มีการถ่ายแรงเป็นระบบ ไม่ต้องการช่วง
ระยะโครงสร้างที่ยาวนัก
ระบบกล่อง (Box Systems)
ระบบนี้ประกอบด้วยพื้นและผนังเป็นชิ้นสำเร็จ อาจจะตกแต่งสำเร็จมาจากโรงงานเลย รวมทั้งมี
ท่อร้อยสาย ระบบท่อเรียบร้อย หรือเฟอร์นิเจอร์ติดตายพร้อมในกล่องสำเร็จรูปนี้ ขนาดสามมิตินี้จะต้อง
ไม่ใหญ่เกินกว่าที่สามารถขนส่งได้ และไม่หนักเกินกว่าที่เครนจะสามารถยกได้ โดยทั่วไปมักจะมีความ
สูงประมาณหนึ่งชั้นเท่านั้น (2.80-3.00 ม.) และกว้างประมาณ 3.50 ม. ถึง 4.00 ม. ใน
ประเทศไทยที่ถนนมีความ รูปที่ 6 อาคารสำเร็จรูประบบกล่อง แคบอาจะต้องมีความกว้างน้อยลงส่วน
ความยาวส่วนใหญ่จะถูกจำกัดที่น้ำหนัก ส่วนใหญ่จะยาวได้มากที่สุดประมาณ 6.00-10.00 ม.
ซึ่งจะทำให้น้ำหนักมีประมาณ 300-400 kN ซึ่งเครนขนาดใหญ่สามารถที่จะยกได้ อย่างไรก็ตาม
พัฒนาการคอนกรีตน้ำหนักเบา (Lightweight Concrete) จะทำให้ขนาดของหน่วยสำเร็จรูป
นี้ใหญ่ขึ้นได้
ระบบสำเร็จรูปนี้มักจะประสบปัญหาในการออกแบบหรือการวางผังประโยชน์ใช้สอยอาคาร เพราะ
ช่องเปิดและการเชื่อมต่อของแต่ละส่วนจะถูกจำกัด จึงเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานต่ำที่สุด
แต่ใช้คนงานในที่ก่อสร้างน้อยกว่าแบบอื่น เหมาะสำหรับที่พักอาศัยขนาดเล็ก หรือแบบหลายชั้นที่ไม่ต้อง
การประโยชน์ใช้สอยอื่นร่วมมากนัก
ระบบผสม (Mixed System)
จากข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ รวมทั้งการก่อสร้างแบบเดิมและระบบสำเร็จสามารถนำมาประ
กอบเป็นระบบผสมได้ อาจจะใช้ระบบโครงสำหรับบางส่วน ระบบแผ่นกับอีกส่วน หรือระบบก่อสร้างธรรม
ดาในอีกส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่าง โดยเฉพาะปัจจุบันเกิดการ
ผสมผสานหลายๆ ประโยชน์ใช้สอยในแต่ละอาคารจะทำให้ระบบสำเร็จรูปแบบผสมนี้มีความเหมาะสม
มากขึ้น แท้ที่จริงแล้วระบบนี้ถูกใช้ในการก่อสร้างของไทยอยู่แล้ว เพราะมีการใช้เสา คานหรือพื้นสำเร็จ
รูปมาประกอบกับระบบหล่อ เป็นต้น

ส่วนประกอบของระบบสำเร็จรูป

ในหลายรูปแบบของระบบสำเร็จดังที่กล่าวมาข้างต้นสามารถแยกส่วนประกอบต่างๆ ได้ดังนี้
คาน และตง
คานและตงคอนกรีตสำเร็จรูปมีหลากหลายรูปแบบ ที่เป็นรู้จักกันดีได้แก่ คานรูปสี่เหลี่ยม รูปตัว
T รูปตัว L หรือ รูปตัว I เป็นต้น ความลึกของคานและตงขึ้นอยู่กับระยะห่างของช่วงเสา น้ำหนักที่จะ
รองรับ ชนิดของคอนกรีต และความต้องการของสถาปนิกและงานระบบในอาคาร ระยะความลึกของคาน
คอนกรีตสำเร็จรูปจะอยู่ที่ประมาณ 1:10 ถึง 1:20 ของระยะพาด คานสำเร็จรูปที่มีระยะพาดมากกว่า
5-6 เมตร ควรจะใช้ระบบ Pre-stressed เข้ามาช่วย ให้ความลึกคานไม่มากเกินไป
เสา
อาจจะสูงมากกว่าหนึ่งชั้น และมีส่วนยื่นหรือส่วนรองรับคานในแต่ละระยะชั้น นิยมทำเป็นรูปสี่
เหลี่ยมจตุรัสหรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจจะมีรูปตัว I บ้าง ระบบเสาสำเร็จรูปจะต้องคำนึงถึงการต่อระหว่าง
เสากับฐานราก และเสากับคานหรือตงของอาคาร อาจจะเป็นระบบใช้น็อต หรือการฝังเหล็กไว้ในเสาเพื่อ
การเชื่อมติดกับส่วนประกอบอื่น การซ่อนส่วนเชื่อมต่ออาจจะมีความต้องการเพื่อความงามทางสถาปัตย
กรรม การยื่นต่อเพื่อรับคานอาจจะเป็นส่วนตกแต่งให้สวยงามได้
พื้น
พื้นสำเร็จอาจจะวางอยู่บนผนังรับน้ำหนักหรือคานหรือเสา อาจจะทิ้งสำเร็จเลยหรือเททับด้วยคอน
กรีตอีกทีก็ได้ พื้นสำเร็จมีหลายรูปแบบเช่น พื้นเรียบ พื้นรูปตัว T รูปตัว U คว่ำ เป็นต้น พื้นสำเร็จสามารถ
แยกออกเป็นพื้นตัน (Solid Flat-Slab) และ พื้นโปร่ง (Hollow-Core)
Hollow Core เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่เว้นช่องไว้ส่วนกลางทั้งความยาวของพื้น สามารถ
วางบนช่วงพาดที่ยาวได้ถึง 15 เมตร ซึ่งหากใช้พื้นสำเร็จธรรมดาอาจจะต้องมีความหนามากกว่านี้หรือ
จะต้องมีคานเสริมและมีน้ำหนักมากกว่า น้ำหนักของพื้นหากใช้ Hollow Care จะลดลงประมาณ 65%
เมื่อเทียบกับพื้นตันคอนกรีต ในขณะเดียวกับช่องว่างภายในพื้นก็สามารถที่จะใช้เป็นที่เก็บท่อสายไฟ
และท่อของงานระบบอื่นๆ ได้ พื้นสำเร็จ Hollow Core มักจะมีความกว้าง 1.2 ม. ในหลายๆ
ประเทศมีความกว้างแตกต่างกันไป ตั้งแต่ 0.60,0.90, 2.40 และ 2.70 ม. และมักจะเป็น
Pre-stressed Slab ความหนาของพื้นอยู่ที่ประมาณ 1:30-1:40 ของระยะพาด
พื้นสำเร็จจะทำให้ระยะพื้นอาคารบางลงและสามารถทิ้งเป็นผิวได้โดยไม่ต้องฉาบทับ
ผนัง
ผนังสำเร็จรูปมีหน้าที่เหมือนผนังอาคารทั่วไป คือ เป็นตัวกั้นสเปซ เป็นฉนวนกันความร้อน กัน
เสียง เป็นหน้าตาของผนังภายนอกอาคาร เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักพื้น เป็นที่ใส่ หน้าต่าง ประตู สายไฟ
ท่อต่างๆดังนั้นผนังสำเร็จรูปจึงต้องใส่องค์ประกอบเหล่านั้นพร้อมจากโรงงานเลยก่อนการนำมาติดตั้ง
จึงประกอบด้วย ผิวประดับภายนอก ฉนวน อาจจะมีเฟรมหน้าต่างหรือกระจกพร้อม ท่อร้อยสายไป หรือ
อื่นๆ โดยทั่วไปหากคิดเฉพาะผนังซึ่งใช้รับน้ำหนักอย่างเดียวอาจจะใช้ความหนาที่ 12 ซม. หากไม่
รับน้ำหนักลดเหลือ 8 ซม. ได้ ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือ ฉนวน พื้นตกแต่งภายนอก และช่องท่อต่างๆ เป็นต้น
รวมแล้วจะอยู่ระหว่าง 20-28 ซม.ขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นฉนวน ความสูงของผนังชั้นเดียวอยู่ระ
หว่าง 2.70-3.50 ม. ในขณะที่ผนังสองชั้นอยู่ที่ 5.40-7.00 ม. ทั้งนี้ต้องไม่ลืมคำนึงถึงกฎ
หมายจราจรสำหรับการขนส่ง สำหรับความยาวมีตั้งแต่ 3-4 เมตรสำหรับห้องเดียวหรือ 6-7 เมตรสำ
หรับความยาวผนังสองห้อง น้ำหนักที่เหมาะสมในการยกขึ้นติดตั้งอยู่ที่ 4-7 ตัน แต่บางที่ก็ใช้ถึง
8-10 ตัน

การวางแผนผลิต

การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปสามารถทำได้ทั้งแบบ โรงงานผลิตถาวร (Permanent Plant)
หรือ โรงผลิตชั่วคราว (Field Plant) โรงงานถาวรใช้สำหรับการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่มีความ
ต้องการผลิตจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานเฉพาะที่รับผลิตให้อาคารต่างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงสำหรับ
โครงการใดโครงการในระยะเวลาสั้นๆ เพราะจะไม่คุ้มต่อการลงทุน สำหรับโรงผลิตที่ที่ก่อสร้าง เป็นกระ
บวนผลิตที่ต้องการชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหมือนกับที่ผลิตในโรงงานถาวร แต่มีความต้องการในผลผลิตที่
น้อยกว่า มักจะผลิตโดยผู้รับเหมาที่รับผิดชอบก่อสร้างอาคารนั้นๆ นั่นเอง เหมาะสำหรับที่ก่อสร้างที่
ไม่มีความแปรปรวนของอากาศมากนัก
การวางแผนผลิตระบบสำเร็จรูปจะต้องเหมาะสมกับการทำงาน สอดคล้องกับกระบวนการผลิต มี
การขนถ่ายระหว่างขั้นตอนที่ดี
ประการแรกจะต้องมีพื้นที่ในการผลิตที่มากพอสำหรับกิจกรรมต่างๆ ต้องมีที่เหลือสำหรับการจัด
เก็บวัสดุและชิ้นส่วนที่ผลิตเสร็จ การจัดเก็บจะต้องง่ายต่อการเข้าถึง สะดวกต่อการขนส่งต่อไปยังที่ก่อ
สร้าง พื้นที่สำหรับช่องทางเดินคนทำงานต้องว่างประมาณ 1 เมตร ในขณะที่ช่องทางเดินรถเข้ามาขน
ส่งประมาณ 2.5 เมตร การขนอุปกรณ์ผลิตเข้าออกจะต้องสะดวก โดยสรุปประสานงานระหว่างการ
ผลิตมีดังนี้
- การไหลลื่นของวัสดุ ระหว่างพื้นที่ทำงาน กับพื้นที่เก็บของ
- การไหลลื่นของคน ทั้งคนทำงาน ผู้ควบคุม ช่างเทคนิคและผู้เยี่ยมชม
- การไหลลื่นของข้อมูล ประกอบด้วยการสั่ง การควบคุม การประสานงาน และการส่งต่อของ
ระบบเอกสารต่างๆ
- การใช้อุปกรณ์ร่วมกันของหน่วยการผลิตที่ต่างกัน
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้แต่ละที่
ส่วนประกอบของกระบวนการผลิตแยกออกเป็นฝ่ายดังนี้
1. ฝ่าย Production มีหน้าที่รับผิดชอบการผลิต รวมไปถึงการขนส่งไปยังที่ก่อสร้าง
2. ฝ่าย Engineering รับผิดชอบด้านเทคนิคต่างของผลผลิต ผลิตรูปแบบ รายละเอียดของ
แต่ละชิ้นส่วน
3. ฝ่าย Administration/Finances รับผิดชอบทางการเงิน การควบคุมราคาและจ่าย
ค่าจ้าง
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว กระบวนการผลิตส่วนประกอบสำเร็จรูปย่อมขึ้นอยู่กับชนิดประเภทและรูป
แบบของส่วนที่จะผลิต การจัดการกระบวนการผลิตจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม แต่กระบวนการหลักๆ
ประกอบด้วยที่ผสมคอนกรีต ที่ขึ้นรูป ที่เก็บชิ้นส่วนที่เสร็จ การขนส่งไปยังที่ก่อสร้าง นอกจากนี้ยังต้อง
มีที่ทำส่วนประกอบย่อยอื่นๆ เช่นเฟรมประตู ฉนวน ท่อต่างๆ และชิ้นส่วนในการติดตั้ง เป็นต้น
บทสรุป : บูรณาการแห่งระบบสำเร็จรูป
การที่ระบบสำเร็จรูปจะประสบความสำเร็จมากน้อยย่อมขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจในระบบของสถาปนิกเอง ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการวางรูปแบบอาคารให้สอดคล้องกับชิ้นส่วนสำเร็จรูปตั้งแต่เริ่มต้น อาคารสำเร็จรูปไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนจากอาคารที่ออกแบบสำหรับการก่อสร้างธรรมดาได้ การประสานงานระหว่างสถาปนิกและผู้ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปซึ่งอาจจะเป็นผู้รับเหมาหรือโรงงานก็มีความสำคัญไม่น้อย การออกแบบอาคารสำเร็จรูปอาจจะทำได้โดยการยึดพื้นฐานของการออกแบบของสถาปนิก หรือยึดการออกแบบตามชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่โรงงานผลิต หรือผสมผสานกันของสองกระบวนการ อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่ากระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมจะต้องเกี่ยวข้องกับงานระบบ โครงสร้างและอื่นๆ เสมอ อาคารที่ใช้ระบบสำเร็จรูปก็คงจะไม่มีข้อยกเว้น สถาปนิกจะต้องประสานกับทีมออกแบบอื่นๆ ตลอดเวลาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการออกแบบ และสถาปนิกจะต้องเป็นผู้นำข้อมูลของแต่ละฝ่ายมาประสานให้ทีมมีประสิทธิภาพสูงสุดหนังสืออ้างอิง Allen, Edward, Fundamentals of Building Construction: Materials and Methods, John Wiley & Sons, New York, 1985 Simmons, H. Leslie, Construction: Principles, Materials, and Methods, Seven Edition, John Wiley & Sons, Inc., New York, 2001 Warszawski, Abraham, Industrialized and Automated Building Systems : A Managerial Approach, E & FN SPON, London, 1999


ตัวอย่าง
http://www.precastthai.com/AboutUs/tabid/58/Default.aspx
http://www.precast.co.th/aboutus.php

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ติดต่อสร้างโครงสร้างเหล็ก

สร้างโครงสร้างเหล็ก
ติดต่อ 0819099024
karn@siamyamato.com

สร้างโครงสร้าง precast-concrete
ติดต่อ ประเทือง ptk_precast@hotmail.com
0863041682

บ้านโครงสร้างเหล็ก

09-12-2547 :
ส่อง "บ้านโครงสร้างเหล็ก" นวัตกรรมทดแทนระบบเสา-คาน
2-3 ปีมานี้ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับองค์กรเอกชน และหัวเรือใหญ่คือ บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด ในเครือปูนซิเมนต์ไทย ขะมักเขม้นอยู่กับการโปรโมต "บ้านโครงสร้างเหล็ก"เหตุผลแรกๆ สุดที่ทำให้ริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา นัยว่าเพื่อเข้ามาดูดซับผลผลิต "ล้นเกิน" ของตลาดเหล็กในประเทศ พัฒนาการของคอนเซ็ปต์บ้านโครงสร้างเหล็กทำขึ้นมาเพื่อสวมบทบาทแทนงานโครงสร้างบ้านด้วยระบบเสา-คานโดยตรงเมื่อซูมลึกลงรายละเอียดจะมองเห็นพัฒนาการเป็นลำดับ เดิมที "เหล็กสยามยามาโตะ" ขายบ้านโครงสร้างเหล็กเพียงแบบเดียว คือ ระบบเชื่อม ลูกค้าจะซื้อ "โครงสร้างเหล็ก" ที่ทำจากเหล็กรูปพรรณรีดร้อนของบริษัท จากนั้นจึงว่าจ้างช่างเชื่อมประกอบขึ้นเป็นโครงบ้านตามแปลนที่ออกแบบไว้ เมื่อปีที่ผ่านมา บ้านโครงสร้างเหล็กได้ถูกพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เรียกว่าระบบ "ขันนอต" (bolt & nut) เป็นอีกทางเลือกให้ลูกค้า โดยวางจำหน่ายผ่านเอเย่นต์ในเครือซิเมนต์ไทย "ระบบขันนอต" แตกต่างจาก "ระบบเชื่อม" ตรงที่จะมีโครงสร้างบ้านมาตรฐานสำเร็จรูปให้เลือกมากกว่า 30 แบบ ทั้งขนาด 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยเริ่มต้นตั้งแต่ 120-300 ตารางเมตรขึ้นไป กรณีนี้รูปแบบโครงสร้างบ้านจะฟิกซ์ขนาดมาตรฐานไว้ตายตัวเหมือนเป็นโครงสร้างสำเร็จรูป มีขนาดความกว้างของห้องให้เลือก 4 ขนาด เริ่มต้นที่ 2.5-3-3.5 และ 4 เมตร ตัวพื้นชั้นล่างความสูงจดเพดาน 3.2 เมตร และคานเหล็กด้านล่างจะมีความสูงยกจากพื้น 60 เซนติเมตร โดยที่ฐานรากบ้านโครงสร้างเหล็ก จะถูกยึดด้วยนอตกับแผ่นเหล็กที่ยึดกับตอม่อแต่ละแบบก็มีจำนวนห้องนอน ห้องน้ำ แตกต่างกันไป รวมถึงตำแหน่งผังบ้าน เรียกว่าแบบไหนถูกใจก็เลือกได้ตามสะดวกจุดเด่นของบ้านโครงสร้างเหล็กอยู่ที่ความรวดเร็วในการติดตั้ง เฉพาะงานโครงสร้างหากเป็นระบบเชื่อมจะใช้เวลาก่อสร้างไม่เกิน 7 วัน ส่วนระบบ bolt & nut ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน จุดที่เด่นยิ่งขึ้นไปอีกคือ ใช้แรงงานในการก่อสร้างประมาณ 7-8 คนต่อบ้าน 1 หลัง น้อยกว่างานก่อสร้างด้วยระบบเสา-คาน ที่ใช้คนงานเฉลี่ยถึง 12-15 คน หรือมากน้อยต่างกันเกือบ 1 เท่าตัว เจาะลึกประเด็นราคา พบว่าบ้านระบบเสา-คานมีต้นทุนเฉลี่ย 1,400-1,500 บาทต่อตารางเมตร ขณะที่บ้านโครงสร้างเหล็กมีต้นทุนเฉลี่ย 1,200 บาทต่อตารางเมตร เนื่องจากใช้แรงงานก่อสร้างน้อยกว่า ความจริง คำว่า "เหล็ก" เป็นเรื่องของหนักๆ ในความรู้สึกคน แต่เครือปูนซิเมนต์ไทยเสียอย่าง... สามารถทำเหล็กให้เป็นเรื่องเบาๆ ได้ ด้วยการใช้อีเวนต์มาร์เก็ตติ้งเป็นตัวเดินกลยุทธ์ต่อยอดธุรกิจ เจาะกลุ่มเป้าหมายอีเวนต์ไปที่ประดานักศึกษาคณะสถาปัตย์โดยตรงปรากฏว่าเสียงตอบรับเกินคาดหมาย มีผลงานส่งแบบบ้านเข้าประกวดออกแบบถึงกว่า 200 แบบขอยกสัก 1 ตัวอย่าง ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศใช้ชื่อว่า "Between Steel and Happy Life in Urban" สร้างความโดดเด่นโดยใช้สะลิงเป็นตัวยึดระหว่างโครงสร้างเหล็กด้านบนกับชายคาบ้าน แทนการใช้เสาเหล็กเป็นตัวค้ำยันชายคาบ้าน รวมถึงดัดแปลงโครงสร้างเหล็กทำทางเดินนอกจากนี้ บางแบบดีไซน์เป็นรูปตัว U แสดงให้เห็นว่าบ้านโครงสร้างเหล็กไม่มีข้อจำกัดในเรื่องการออกแบบ"เหล็กสยามยามาโตะ" ฝากบอกมาว่า ทั้ง 200 แบบที่เป็นผลงานส่งประกวดบริษัทจะนำไปพัฒนาต่อในเชิงพาณิชย์ ใครที่เริ่มเทใจให้กับเทคโนโลยีบ้านโครง สร้างเหล็ก แปลว่าเร็วๆ นี้คงได้ใช้บริการอย่างแน่นอน ! ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ 09-12-2547

รถตัก

รถ 6 ล้อใหญ่
ไม้หนึ่ง สูง 2.00 เมตร
ครีบกระบะที่หัวเก๋ง--สูง 2.5 เมตร

SG10N3--185000 แยกนพวงศ์
http://archived2005.intensivewatch.com/cgi-bin/thai/auction_photo.php?F10&l21k2139f1001&0

sg1on3-10353

toyota 6sd10
http://translate.google.com/translate?hl=en&sl=ja&u=http://www.toyota-lf-keiji.co.jp/rental/shoberu1.html&sa=X&oi=translate&resnum=1&ct=result&prev=/search%3Fq%3Dtoyota%2B6sd10%26hl%3Den%26rlz%3D1T4GGLR_enTH211TH212
wa70 Komatsu spec
http://www.equipmentcentral.com/europe/new_equipment/data/WA70-5_VESS088100_0510_20734.pdf

sd20-6 forklift
http://www.lift.co.jp/eng/distrib/wheel_loaders/index.html

http://www.ong-s.com.ph/752/794.html?*session*id*key*=*session*id*val*
**new--komatsu forklift singapore
http://www.komatsuforklift.com.sg/product7a.htm

http://www.lift.co.jp/eng/distrib/wheel_loaders/index.html

maintenance
http://www.forklift-d.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=2155&pid=57369

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

พี่ต่อ

สร้าง 250000 บาทต่อห้อง ไม่รวมที่ดิน
ยังไม่รวมค่าclearเจ้าหน้าที่

วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

Method Statement for Post tension slab (ภาคปฏิบัติ)

Method Statement for Post tension slab ( Bonded System )
ขั้นตอนการทำระบบพื้น Post Tension ( CCL Bonded System )
โดยนายช่างมนัส จันระภู
1. ติดตั้งค้ำยัน และแบบข้าง ให้แน่นและแข็งแรง
2. วางเหล็กเสริม บน ล่าง ตาม Shop Drawing หนุนลูกปูนเพื่อจัด Converng และจัดตำแหน่งเหล็กโดยใช้ Bar Chair
3. วางลวดอัดแรง และติดตั้ง ANCHORAGE ตามแบบ Shop Drawing โดย ailment ของลวดอัดแรงต้องได้ระยะตามที่คำนวณไว้โดยค่า Tolerance ของแนว Horizontal ? 20 mm. และ Vertical + 4 mm.
4. วางเหล็กเสริมแบบ และรายละเอียดเหล็กเสริมบริเวณหัวเสา
5. เทคอนกรีตตาม Strength ที่ทำ Mix Design ให้เสนอ Approve ก่อนเทควรตรวจสอบ Slump ทุกครั้ง Slump ต้องได้ตามที่ผู้ออกแบบ Design ไว้
6. ดึงลวดอัดแรงเมื่อกำลังอัดคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 ksc. หรือประมาณ 75 % ของ Strength Design
7. อัดน้ำปูนเข้าท่อร้อยลวดอัดแรง ในกรณีที่ใช้ wedge 3 รูแต่ร้อยสลิงแค่ 2 รู อาจต่อท่อ air vent เข้ากับอีกรูเพื่อป้องกันการเสียหายของผิวหน้าคอนกรีต เนื่องจากการ
อุปกรณ์การ Stressing
1. เครื่องมือและอุปกรณ์การดึงลวดอัดแรง- Hidraulic Pump- Hidraulic Jack- CCL Mastermatc, Proving Ring
การดึงลวดจะกระทำเมื่อกำลังอัดประลัยคอนกรีตรูปทรงกระบอกไม่น้อยกว่า 240 กก. / ตร.ซม. ( 75 % Strength design ) โดยจะกระทำตามลำดับดังนี้
ขั้นตอนการ STRESSING
2.1 ก่อนดึงลวด ทำการ Calibrate เครื่องดึงลวดและทำเครื่องหมาย โดยการพ่นสีไว้ที่ปลายลวดที่จะดึง เพื่อเป็นระยะอ้างอิงในการวัดหาค่าระยะยืดของลวด ( โดยทั่วไปจะพ่นสีห่างจากกิ๊ฟประมาณ 10 ซม. )
2.2 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Main Tendon หรือ ดึงกลุ่มเว้นกลุ่ม
2.3 ทำการดึงลวด 50 % ของจำนวนลวดทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.4 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Main Tendon
2.5 ดึงลวดที่เหลือทั้งหมดในแนว Distribute Tendon
2.6 หลังจากดึงลวดเสร็จเรียบร้อย จะทำการวัดระยะยึดจริง โดยวัดระยะจากกิ๊ฟ ถึงตำแหน่งพ่นสีที่ทำไว้เพื่อนำค่าระยะยึดจริงของลวดเปรียบเทียบกับค่า Elongation ที่ออกแบบไว้
2.7 กรณีที่วัดค่า Elongation จากการดึงลวด ได้ค่าไม่ตรงตามข้อกำหนด จะต้องทำการดึงซ่อม หรือหาทางแก้ไขเป็นกรณีไป
3. การควบคุมแรงดึงในเส้นลวด
3.1 ควบคุมแรงดึงจาก Pressure – Gage ที่เครื่อง Hydraulic Pump
3.2 เปรียบเทียบค่าระยะยึดจริงของลวดกับค่า Elongation ที่ได้ออกแบบไว้โดยค่าที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 5 % ( ตามค่ากำหนด )
4. กรณีที่ค่าระยะยึดจริงของลวดกับ Elongation ที่ออกแบบไว้แตกต่างกันเกิน 5 % ให้ทำการตรวจสอบและแก้ไขเป็นกรณีไป
4.1 กรณีเกิน 5 % ( ระยะยึดของลวดน้อยกว่ารายการคำนวณ Elongation )- ให้เพิ่มแรงดึงแต่ต้องไม่เกิน 80 % Fpu. ( 15 ตัน ) แล้ววัดระยะยืดของลวดที่เพิ่มขึ้น- กรณีที่เพิ่มแรงดึงถึง 80 % Fpu. แล้วระยะยึดของลวดเกิน 5 % ให้ทำการคำนวณตรวจสอบโครงสร้างเฉพาะส่วนนั้น ๆ โดยใช้ค่าแรงดึงลวดที่เกิดขึ้นจริง
4.2 กรณี 5 % ( ระยะยึดจริงมากกว่ารายการคำนวณ Elongation )- ตรวจสอบแรงดึง โดย Re – Stressing ด้วยแรง 75 % Fpu. ( 14 ตัน ) สังเกตระยะยืดเพิ่มแรงช้า ๆ สังเกตระยะยึดจนลวดขยับตัวอ่าน Pressure Gage จะได้ค่าแรงในลวดเส้นนั้น ๆ ตรวจสอบว่าเกิน 80 % Fpu. หรือไม่ ถ้าไม่เกินถือว่าผ่าน กรณี 50 % Fpu. ให้รายงานผู้ออกแบบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
1. การอัดน้ำปูน ( Grouting Cement )
1.1 เครื่องมือและอุปกรณ์การอัดน้ำปูน- เครื่องมืออัดน้ำปูน ( Mono Pump )- เครื่องผสมปูน ( Mixer Tank )
1.2 วัสดุ Grouting Cement
1.3 วัสดุ Grouting Cement เป็นส่วนผสมของปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 ผสมกับน้ำ และ Admixture โดยมีอัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์ ( W/C RATIO ) ไม่เกิน 0.45 โดยน้ำหนักดังอัตราส่วนต่อไปนี้- ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ชนิดที่ 1 = 50 kg. - Admixture ( Aluminum ) ส่วนผสมตามสูตรของ Admixture แต่ละชนิด- น้ำ = 20 – 22 ลิตรก่อนจะนำส่วนผสมไปอัดน้ำปูน จะต้องทำการทดสอบการไหล ( Test Flow Rate ) ของส่วนผสมก่อนโดยให้ได้อัตราการไหลประมาณ 11 วินาที โดยใช้ปริมาตร 1.7 ลิตร และจะต้องทำการเก็บลูกปูนไว้ทดสอบกำลังอัด( 151 ksc อายุ 7 วัน ), ( 280 ksc อายุ 28 วัน)หมายเหตุ ปริมาตร 1.7 ลิตร ใช้เวลาประมาณ 7 – 8 วินาที
1.4 ขั้นตอนการอัดปูนน้ำ- ก่อนการอัดปูนน้ำจะต้องทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยึด เพื่อป้องกันการรั่วของน้ำปูน Grout บริเวณสมอยึดหมายเหตุ ทำการตัดปลายลวดก่อนทำการอุดปูนทรายหุ้มสมอยืด- ทำความสะอาดท่อร้อยลวดอัดแรง โดยการอัดน้ำหรือเป่าลมเข้าไปในท่อเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่อยู่ภายในท่อออกและยังเป็นการตรวจสอบว่าท่อตันหรือไม่ ถ้าตันให้ทำการเจาะรูใหม่เพื่อให้สามารถอัดน้ำปูนได้เต็ม- ทำการอัดน้ำปูนเข้าไปในท่อร้อยลวดอัดแรง ผ่านท่อ Air vent ด้านหนึ่งให้น้ำปูนไหลผ่านท่อ Air vent ที่ปลายสมอยึดอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงทำการปิด Air vent ที่ปลายสมอยึดด้านท้าย คงค้างแรงดันอย่างน้อย 50 PSI หรือ 3.5 ksc. เป็นเวลา 5 วินาที ก่อนทำการปิดท่อ Air vent ( โดยการพับท่อ Air vent ที่อัดน้ำปูนไว้เพื่อรักษาความดันภายในท่อไว้ ) - ภายหลังจากอัดน้ำปูนทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงค่อยตัดท่อ Air vent โดยสกัดเข้าไปในเนื้อคอนกรีตประมาณ 2 – 3 ซม. แล้วจึงทำการ Grout ปูนแต่งผิวคอนกรีต
อ้างอิงจาก http://junrapoo.tripod.com/structure.htm

การใช้posttension กับอพาร์ทเมนต์

ถาม
อยากรบกวนสอบถามเรื่องพื้นหน่อยครับ คือว่าผมจะสร้างอพาร์ทเมนต์ 7ชั้น ชั้นละ 10 ห้อง อยากทราบว่าระหว่างพื้นโพสเทนชั่น กับ พื้นแบบมีคาน อยางไหนดีกว่ากันครับ และอย่างไหนถูกกว่า และแพงกว่าครับ ขอบคุณครับ
ตอบ
7 ชั้น ต้องมีลิฟท์ หากอยู่พื้นที่ตาม กฎกระทรวง ปี 50 ต้องออกแบบรับแผ่นดินไหวและจากจำนวนห้องต่อชั้นไม่มาก ถ้าช่วงเสาสม่ำเสมอ และไม่ยาวเกิน 6 เมตร ทำ คาน-เสาจะประหยัด

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ลงทุน “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ?

ลงทุน “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” อย่างไหนคุ้มกว่ากัน ?


พรรคพวกผมได้แนะนำผมให้รู้จักกับเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีพื้นเพและประกอบธุรกิจวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ในจังหวัดชลบุรี มากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีที่ดินอยู่หลายแปลง หลายทำเลที่ยังไม่ได้ทำประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
ที่ดินว่างเปล่ามีทั้งตั้งอยู่ในทำเลที่แตกต่างกันไป ที่ดินบางแปลงเหมาะทำหรือสร้างอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดมิเนียม เพราะพื้นที่มีจำกัดและอยู่ในแหล่งชุมชน ที่ดินบางแปลงที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะมีพื้นที่ค่อนข้างมาก แต่ไม่เหมาะพัฒนาหรือจัดสรร เนื่องจากความเจริญของชุมชนยังไปไม่ถึง
เรื่องที่ผมและเจ้าของที่ดินได้พูดคุยหารือร่วมกันเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำว่า ที่ดินแปลงซึ่งมีศักยภาพ อยู่ในแหล่งชุมชน มีความเจริญมากขึ้นในอนาคต ควรพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” หรือ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์”
รูปแบบใดจะเกิดประโยชน์มากน้อยแตกต่างกันอย่างไร?
หรือมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร?
ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจมีที่ดินซึ่งมีความพร้อมตั้งอยู่ในทำเลที่ดี อาจอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าสมควรจะสร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่าหรือคอนโดมิเนียม หรือฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินหรือเล่นหุ้น หรือซื้อพันธบัตร หรือตราสารหนี้ ว่ารูปแบบใด จะสร้างประโยชน์และความคุ้มค่าให้กับตนเองมากที่สุด
“คำตอบ” ที่แตกต่างมีให้เห็นอยู่ไม่กี่ข้อ อาทิ
สร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า มีข้อดี ได้แก่ มีรายได้จากการให้เช่าในระยะยาว มีข้อเสีย ได้แก่ ความเสี่ยงของการนำเม็ดเงินมาลงทุนและต้องปรับปรุงห้องพักให้ดูดีอยู่เสมอ และจัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงรักษาสภาพอาคารและห้องพักมิให้ดูเสื่อมโทรม
สร้างคอนโดมิเนียม มีข้อดี ได้แก่ ได้กำไรเป็นเงินก้อนโต ไม่เป็นภาระดูแลบำรุงรักษาอาคารและห้องชุด ข้อเสียได้แก่ ความเสี่ยงของการลงทุนอาจไม่ประสบความสำเร็จจากการขายห้องชุด เป็นต้น
สำหรับการลงทุนในหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์มีข้อดี ได้แก่ ไม่ต้องใช้งบลงทุนจำนวนมาก มี ข้อเสีย ได้แก่ ความผันผวนหรือการเปลี่ยนแปลงกรณีมีการปั่นหุ้นและมีข้อมูลข่าวสารที่ติดตามไม่ทันเหตุการณ์ ซึ่งแตกต่างกับการลงทุนในสถาบันการเงินหรือการซื้อพันธบัตรของรัฐบาล มีข้อดี ได้แก่ ไม่มีความเสี่ยง แต่มีข้อเสีย ได้แก่ อัตราผลตอบแทนต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว
มีเหตุผลแตกต่างกันแล้วแต่ว่าใครจะชอบลงทุนในรูปแบบใด?
ถ้าคิดจะเลือกลงทุนเพื่อพัฒนาที่ดินในรูปแบบอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า หรือการสร้างคอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก ผมมองว่าน่าจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของที่ดินมากกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ
เรื่องซึ่งเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการทำการบ้าน“เหมือนกัน” ไม่ว่าจะพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียมเพื่อขายกรรมสิทธิ์” ดังนี้
1. ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการ
กรณีที่ดินที่จะพัฒนาขึ้นเป็น “อพาร์ทเม้นท์” หรือ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการว่ารูปแบบใดจะสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและวิถีชีวิตการอยู่อาศัยภายในชุมชน
2. สำรวจและวิจัยด้านการตลาด
การสำรวจและวิจัยด้านการตลาดของการตลาดของการพัฒนาโครงการรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” มีความจำเป็นต้องสำรวจและวิจัยด้านการตลาดว่ามีความต้องการได้ที่อยู่อาศัยประเภทเช่าหรือซื้อกรรมสิทธิ์มากกว่ากัน
ข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้เป็นรายละเอียดศึกษาเพื่อเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ
3. การออกแบบ รายการคำนวณและการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การพัฒนาที่ดินไม่ว่าจะเป็น “อพาร์ทเม้นท์ให้เช่า” และ “คอนโดมิเนียม” เจ้าของที่ดินจำเป็นตัองว่าจ้างสถาปนิก วิศวกรทำการออกแบบอาคาร พร้อมรายการคำนวณตลอดจนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงและเทศบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
4. จัดเตรียมงบประมาณการตลาดและการประชาสัมพันธ์ให้โครงการเป็นที่รู้จัก
เมื่อโครงการได้รับ “ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร” จากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการโครงการจำเป็นต้องจัดเตรียมงบประมาณส่วนหนึ่ง เพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์โครงการ อาทิ โบรชัวร์ ใบราคาเช่า – ขาย ห้องพักและห้องชุด ป้ายโฆษณาหรือป้าย คัทเอาท์ การออกบูธประชาสัมพันธ์ ณ แหล่งชุมชนห้างสรรพสินค้า การจัดทำ “ม็อคอัพ” หรือ “ห้องตัวอย่าง” ให้ผู้สนใจได้ชม เป็นต้น
5. จัดทำและเสนอแผนธุรกิจเพื่อขออนุมัติสินเชื่อพัฒนาโครงการกับสถาบันการเงิน
งบประมาณการก่อสร้างอาคารประเภท “ อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” ผู้ประกอบการจำเป็นต้องอาศัยเงินกู้จากสถาบันการเงินมาใช้ในการพัฒนาโครงการ ผู้ประกอบการซึ่งจำเป็นต้องจัดทำแผนธุรกิจเสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ นอกจากแผนธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องจัดทำงบกระแสเงินสด (CASH FLOW) เสนอให้สถาบันการเงินพิจารณาประกอบพร้อมกันไปด้วย
6. จัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ทั้งงานด้านก่อสร้าง งานบัญชี – การเงิน – ภาษี งานขายและ การตลาดและงานด้านกฎหมาย ให้คำแนะนำ
ผู้ประกอบการซึ่งขาดความชำนาญหรือยังไม่มีประสบการณ์เห็นควรให้ท่านพิจารณาจัดหา “ที่ปรึกษาโครงการ” ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในงานแต่ละด้านเข้ามารองรับเพื่อลดการสูญเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
อย่ามองว่างานไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเสียดายงบประมาณการว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการเข้ามารองรับในงานแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้อง
งานบางประเภท ผู้ประกอบการอาจอาศัย “OUTSOURCE” ที่มีประสบการณ์ ความชำนาญเข้ามารองรับเพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการจะเกิดประโยชน์ยิ่ง
ส่วน “ข้อแตกต่าง” หรือ “ไม่เหมือนกัน” ระหว่างการสร้าง “อพาร์ทเม้นท์” และ “คอนโดมิเนียม” มีดังนี้
1. โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร
การพัฒนาที่ดินในรูปแบบ “อพาร์ทเม้นท์” โฉนดที่ดินยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการ แต่โฉนดที่ดินของอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคาร เมื่อได้รับการจดทะเบียนอาคารชุด โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522โฉนดที่ดิน ทั้งสองฉบับจะถูกบันทึกและเก็บไว้ในสารบบของ “กรมที่ดิน” ตามระเบียบปฏิบัติของราชการ “กรมที่ดิน” ผู้ประกอบการไม่สามารถนำโฉนดที่ดินไป “แปะโป้งหรือจำนอง”ได้
แต่โฉนดที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้ง “อพาร์ทเม้นท์” ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต
2. การถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและอาคารที่ดิน
ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างประเภท “อพาร์ทเม้นท์” เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งที่ดินและอาคารรวมถึงห้องพักภายในอาคารทั้งหมดโดยชอบตามกฎหมาย
แต่ “คอนโดมิเนียม” กลายเป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล ได้แก่ ห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลาง อาทิ โถงทางเดิน ลานจอดรถยนต์ ลิฟท์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆร่วมกัน
กฎหมายบังคับว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลางจะแยกออกจากกันไม่ได้ เมื่อมีการฟ้องคดีทั้งทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง จะติดตามพร้อมกันไปทุกครั้ง
ห้องชุดแต่ละห้อง จะปรากฏเป็น “โฉนดลอยฟ้า” หรือ “หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด”ให้ไว้กับผู้เป็นเจ้าของห้องชุดแต่ละราย
3. ห้องพักอพาร์ทเม้นท์ไม่สามารถทำนิติกรรมและสัญญาแต่ห้องชุดสามารถทำนิติกรรมและสัญญาได้
ห้องชุดในอาคารชุดสามารถใช้ประโยชน์ทางอื่นๆได้ อาทิ การซื้อ – ขาย การแลกเปลี่ยน การจำนอง การขายฝาก การให้ เป็นต้น แต่ห้องพัก “อพาร์ทเม้นท์” ไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ให้กับเจ้าของโครงการได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ
4. การขายกรรมสิทธิ์อาคารและห้องชุด
ผู้ประกอบการ “อพาร์ทเม้นท์” สามารถขายโครงการได้โดยยกโครงการทั้งหมด แต่อาคารชุดไม่สามารถขายยกโครงการทั้งหมดได้เมื่อขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ “กรมที่ดิน” ตามพ.ร.บ. อาคารชุด พ.ศ.2522
“อพาร์ทเม้นท์” สามารถให้บุคลใดๆเช่าพักอาศัยได้ เช่นเดียวกับ “อาคารชุด”
“อาคารชุด” สามารถขายกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอก และมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน
5. ผู้อาศัยในอพาร์ทเม้นท์อยู่ภายใต้กฎระเบียบของเจ้าของอาคาร อาคารชุดอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมิติของการประชุมเจ้าของร่วม
เจ้าของอาคาร “อพาร์ทเม้นท์” เป็นผู้กำหนดระเบียบการใช้ห้องพักภายในอพาร์ทเม้นท์ภายใต้กรอบของกฎหมาย แต่อาคารชุดและห้องชุด อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับและมติของการประชุมเจ้าของร่วม ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
ข้อสุดท้ายซึ่งมีความแตกต่างหรือไม่เหมือนกันอีกข้อ ได้แก่ ภาระผูกพันในการบำรุงดูแลรักษาอพาร์ทเม้นท์ จะตกกับเจ้าของอาคารทั้งหมด แต่อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม ภาระผูกพันในการดูแลห้องชุดและทรัพย์ส่วนกลางจะตกกับเจ้าของห้องชุดและเจ้าของร่วมภายในอาคารชุดทั้งหมด



นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร
E-mail : pisit - peterandpaul@hotmail.com
โทรศัพท์ : 089-814-2297

รวมเวปแบบก่อสร้าง

http://www.acad-design.com/

http://www.smilehomes.com/

http://www.sangbaan.com/

http://www.apartmentlover.com/

http://www.pd.co.th/v2/th/model_apartment.php

ตัวอย่างที่เชียงใหม่








อาคารพาณิชย์หรู



สไตล์ สแปนิช แห่งแรกในเชียงใหม่ที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากอาคารพาณิชย์ทั่วไป เป็นศูนย์รวมธุรกิจต่าง ๆ ในทำเลทองกลางใจเมืองเชียงใหม่ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจด้านการศึกษา , สถานเสริมความงาม, ร้านอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย บนพื้นที่กว่า 3 ไร่ พร้อมที่จอดรถกว้างขวาง
It’s the first Spanish commercial building in Chiang Mai that is different from any other. It’s the center of various kinds of business on the good location in the center of Chiang Mai. For example Education centers, beauty salons, restaurants and any other. These are in 3 Rai with parking lot.
*ราคาเริ่มต้นที่ 3.35 ล้านบาท *Starting Price 3.35 Million Bahtรายละเอียดของวัสดุ- ชั้นล่าง - ชั้นลอย ปูพื้นด้วยกระเบื้อง 12" x 12" - ชั้น 2, 3, 4 พื้นขัดมันเรียบ- ห้องน้ำมี 3 ห้อง ชั้นล่าง, ชั้น 2, ชั้น 4ติดต่อฝ่ายขาย โทร. 053-241000, 089-433-9447 Contact sale office Tel. 053-241000, 089-433-9447



ตัวอย่าง

พรชัยอพาร์ทเม้นท์
ติดถนนใหญ่ ใกล้ท่ารถประจำทาง... พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน... - แอร์พร้อมเฟอร์นิเจอร์ - ปลั๊กโทรศัพท์ ทุกห้อง - ปลั๊กเสาอากาศทีวี พร้อมช่อง TTV ทุกห้อง - พื้นห้องและห้องน้ำปูกระเบื้อง, ราวแขวนผ้า - ระบบรักษาความปลอดภัย ประตูใหญ่ควบคุมด้วยกุญแจไฟฟ้า - เครื่องทำน้ำอุ่น
รายละเอียดค่าเช่า - ห้องแอร์ พร้อมเฟอร์นิเจอร์ 3,500 / เดือน - ค่าไฟฟ้า 7 บาท/ ยูนิต - ค่าน้ำ 17 บาท/ ยูนิต - ค่าประกันห้อง ค่าแอร์พร้อมเฟอร์นิเจอร์ 4,000 บาท - จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน

ระเบียบอพาร์ทเมนต์ของSENADEVELOPMENT

แบบอพาร์ทเม้นต์ By เสนาเฮ้าส์ พหลโยธิน30 senadevelopmentพื้นที่ใช้สอย 33 ตร.ม. สอบถามราคากรุณาติดต่อสำนักงานขาย
รายละเอียด
1. ผู้เช่าต้องเช่าอย่างต่ำ 6 เดือน
2. ค่าประกันความเสียหาย 1 เดือน ค่าเช่าล่วงหน้า ตามอัตราเช่า 2 เดือน- ต้องชำระในวันทำสัญญา
3. การจองห้องพัก ชำระอัตราขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป กำหนดระยะเวลาการจอง 15 วัน - หากพ้นกำหนดทางบริษัทขอริบเงินจอง
4. พักอาศัยได้ไม่เกิน 2 คน
5. กรณีต้องเปลี่ยนห้องพัก เมื่ออาศัยครบ 3 เดือนแล้วไม่คิดค่าธรรมเนียม - หากพ้นอาศัยไม่ครบ 3 เดือน คิดค่าธรรมเนียม 500 บาท
6. การแจ้งออก ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ก่อนวันที่ย้ายออก (พร้อมกรอกแบบฟอร์มย้ายออก)
7. การชำระค่าเช่า ชำระภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน กรณีเกินวันที่ 10 ปรับวันละ 50 บาท หากเกินวันที่ 15 บอกเลิกสัญญาและขนย้ายออกทันที (โดยสำนักงานจะยกเลิกระบบ Key Card)
8. กรณีลืมกุญแจห้อง คิดค่าบริการครั้งละ 100 บาท
9. รับประกันอุปกรณ์สาธารณูปโภคและอุปกรณ์ไฟฟ้า 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่เข้าพัก (กรณีเกิดความเสียหายหรือชำรุด ผู้เช่าชำระค่าใช้จ่ายในการแก้ไข)
อัตราค่าเช่าราคาเริ่มต้น 6,500 บาท/เดือน (สัญญา 6 เดือน)จ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 2 เดือน ค่าประกันความเสียหาย 1 เดือน
อัตราค่าสาธารณูปโภค
1. ค่าน้ำประปายูนิตละ 17 บาท
2. ค่าไฟฟ้ายูนิตละ 7 บาท
3. ค่าบริการโทรศัพท์ 5 นาที แรก
4. ค่าส่วนกลาง ห้องออกกำลังกาย/สวน
รายละเอียดของห้องพัก
-Superior Studio Studio 6,500.
-Super Deluxe Studio + Shower + Conner7,000.
-Grand Studio Studio + Bathtub 8,200.
-Grand Deluxe Studio + Bathtub + Conner 8,700.
-ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

วรรณพลค้าวัสดุก่อสร้าง

วรรณพลค้าวัสดุก่อสร้าง
ราชสีห์
ตันละ
แดง ตันละ2000 บาท ลุกละ100บาท ถ้าส่งให้ 121 บาท(แต่ต้อง340ถุง)
เขียว ตันละ1730 บาท ลูกละ 86.5บาท ถ้าส่งให้ 104บาท(แต่ต้อง340ถุง)
asia
ดอกบัว--ส่ง 200 ถุง ๆละ 105 บาท
ภูเขา--ส่ง 200 ถุง ๆละ 120 บาท

ติดต่อ สายรุ้ง

รายชื่อร้านวัสดุก่อสร้าง


รายชื่อdealer ปูนราชสีห์ (กรุงเทพ) 13-11-51
1. 3 เสือค้าวัสดุก่อสร้าง บจก.ที่อยู่ : 89/1 ถ.เทศบาลสงเคราะห์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900โทรศัพท์ : 02-5890190

2. วรรณพลค้าวัสดุ และก่อสร้าง บจก.ที่อยู่ : 114 ซ.เรือนทอง ถ.ริมคลองประปา แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800โทรศัพท์ : 02-9105030-8
3. จี.แมททีเรียล บจก.ที่อยู่ : 113/45 หมู่ที่ 10 ถ.เพชรเกษม แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160โทรศัพท์ : 02-455-4434-7#204

4. นายช่าง กรุ๊ป บจก.ที่อยู่ : 23/2 หมู่ที่ 6 ต.ลำโพ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110โทรศัพท์ : 02-9260130-3

5. ซีเมนต ์แมททีเรียล บจก.ที่อยู่ : 17/5 หมู่ที่ 5 ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120โทรศัพท์ : 02-5979048-51

6. พัฒนพงศ์วัสดุภัณฑ์ บจก.ที่อยู่ : 63 หมู่ที่12 ถนนบางนา-ตราด ตำบลราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540โทรศัพท์ : 02-3169227-9

7. คลังวัสดุ คลอง 9ที่อยู่ : 66/18-18 หมู่ 8 ถ.รามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ : 02-9435764


8. เกียรติเรืองโรจน์ค้าไม้ หจก.ที่อยู่ : 70/5 หมู่ที่6 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110โทรศัพท์ : 02-595-1619

9. นนทวัฒน์วัสดุภัณฑ์ หจก.ที่อยู่ : 52/1 หมู่ที่ 6 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10160โทรศัพท์ : 02-4157909-10

10. ปทุมรัฐ วัสดุก่อสร้าง บจก.ที่อยู่ : 48/6 หมู่ที่2 ถนนรังสิต-ลาดหลุมแก้ว ตำบลบ้านฉาง อำเภอเมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000โทรศัพท์ : 02-5816347

11. เมืองไทย ซีเมนต์ บจก.ที่อยู่ : 88-90 ถนนอโศก-ดินแดง แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320โทรศัพท์ : 02-7489065-7

12. คอร่า เดค. บจก.ที่อยู่ : 55/207 หมู่ที่ 5 ถนน 345 ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000โทรศัพท์ : 02-9770055

13. 3 เอ็ม แมททีเรียล หจก.ที่อยู่ : 44/189 หมู่ที่7 ถนนนาคนิวาส แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ : 02-5386698

14. แหวนสินค้าวัสดุ บจก.ที่อยู่ : 9/3 ซอย17(มูลนิธิร่วมกุศล) ถนนท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270โทรศัพท์ : 02-7018297

15. โฮมแมททีเรียล บจก.ที่อยู่ : 70/2 หมู่ที่ 6 ถนนรังสิต-ปทุมธานี ตำบลบางพูน อำเภอเมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000โทรศัพท์ : 02-9596256-7


16. แผ่นดินทอง วัสดุก่อสร้าง บจก.ที่อยู่ : 221/1 หมู่ที่ 9 ถนนติวานนท์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000โทรศัพท์ : 02-9506906


17. วานิชโฮมมาร์ท บจก.ที่อยู่ : 32/14-15 หมู่ที่6 ถนนบางขันธ์-คลองห้า ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120โทรศัพท์ : 02-9011991-2

18. ต.ชัยถาวรพาณิชย์ หจก.ที่อยู่ : 45/11-12 หมู่ที่ 4 ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170โทรศัพท์ : 02-4485831


19. สยามอภิภัณฑ์วัสดุ บจก.ที่อยู่ : 20/99 หมู่ที่ 2 ถนนบางบอน 4 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160โทรศัพท์ : 02-4456222


20. นัฐวรรณค้าวัสดุก่อสร้าง บจก.ที่อยู่ : 1199 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280โทรศัพท์ : 02-701-2500


21. นำชัยแมททีเรียล บจก.ที่อยู่ : 23/130 หมู่ 13 ซอยโชคชัย 4 ถนนลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯโทรศัพท์ : 02-514-1170

22.มาสเตอร์ซีเมนต์ บจก.ที่อยู่ : 68/1 อาคารดวงทิพย์ ชั้น 6 ห้อง 6 บี ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500โทรศัพท์ : 02-235-8994

23. บ้านดีวัสดุ บจก.ที่อยู่ : 48 หมู่ที่ 2 ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี 10240โทรศัพท์ : 02-925-6801

24. ซี.ซี. ซีเมนต์ บจก.ที่อยู่ : 171/8 หมู่ที่ 3 ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290โทรศัพท์ : 02-930-8700

อาคารสูง

www.thaibuildinginspector.com
ถาม
อาคารสูง= สูงตั้งแต่ 23.00ขึ้นไป โดยวัดจากระดับดินถึงพื้นดาดฟ้า ห้องลิฟท์ บันได แท้งน้ำ สูงเกินได้หรือเปล่า
ตอบ
อาคารสูง = สูงตั้งแต่ 23.00ขึ้นไป โดยวัดจากระดับดินถึงพื้นดาดฟ้า แล้ว ห้องลิฟท์ บันได แท้งน้ำ สูงเกินได้หรือ เปล่า โดยเฉพาะ ห้องลิฟท์ อยากทำเป็นหลังคา ทรงจั่วที่สูงๆ จะได้ไหม
ได้ คิดความสูงถึงแค่พื้นดาดฟ้า ถ้าเป็นหลังคา คิดถึงจุดเริ่มลาดของหลังคา บางคนเรียกว่าผนังยอดฝาการวัดความสูงของอาคารเพื่อการ set back จะคิดตั้งแต่ ถนน เป็นระดับ 0.00 แต่การวัดตามกฎกระทรวง ๓๓ เรื่อง อาคารสูง จะคิดตั้งแต่ พื้นที่ก่อสร้าง เป็นระดับ 0.00 ดังนั้น ถ้าเราถมดินสูง ๒.๐๐ เมตร แล้วก่อสร้างอาคาร อาคารจะสูงจากพื้นดินได้ 22.99 เมตร ในขณะที่จะสูงจากถนน = 2.00 + 22.99 = 25.99 เมตร .......
เด็กใหม่ ถาม ARCHER สุธิดา ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ตอบ(27/09/42)

กฏหมาย

มีกฎหมายเกี่ยวกับ การประกอบกิจการอันตรายหรือน่ารังเกียจ
ต้องทำใบอนุญาตด้วย

หลักการโชห่วย

เทคนิคง่าย ๆ การเปิดร้านค้า
ขายอะไรก็ตามในโลกนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การทำตลาด และ แสวงหาช่องทางในการขายสินค้านั้น ๆ นันคือ สัจจาธรรมโลก ดังนั้น ดิฉันมีเทคนิคและ หลัก ง่าย ๆ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อย สามารถสู่และยืนหยัดให้ได้ก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานนะคะ
การวิเคราะห์ตลาด
จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ตลาดก็เพื่อดูว่า สิ่งที่เป็นไปในตลาดเป็นไปอย่างที่เราคิดไว้หรือไม่ ดิฉันเชื่อว่าท่านคงมั่นใจในสิ่งที่ท่านคิดจะทำอยู่มาก แต่ลองมาดูว่าในโลกของความเป็นจริงมันเป็นอย่างไรโดยการพยายามตอบคำถามง่ายๆให้ได้ว่า
ใครจะมาเป็นผู้ซื้อของเรา ทำอย่างไรเขาถึงจะมาซื้อกับเราในการวิเคราะห์ตลาดของมืออาชีพเขาจะจ้างคนมาทำการสำรวจความคิดเห็น และนำไปวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลจำนวนมากที่เขามีอยู่ แต่เราคงไม่เสียเงินไปทำแบบนั้นแน่ๆ สิ่งง่ายๆที่เราทำได้คือการ “สังเกต” เอากันง่ายๆ เช่น ถ้าจะเปิดร้านขายน้ำผลไม้สดปั่นที่สยาม ก็ให้เริ่มไปสังเกต
สังเกตตลาด
1. สังเกตร้านแบบนี้ที่มีอยู่แล้วในทุกๆแห่ง ว่าใครเป็นคนซื้อ ขายดีมั้ย หากได้พูดคุยกับคนขายด้วยก็ดี แต่อย่าลืมว่า เรามาเพื่อเก็บข้อมูลเท่านั้นอย่าไปถ้อใจถ้าหากเห็นว่าร้านที่มีอยู่แล้วขายไม่ดีนัก เพราะเรายังไม่ได้เริ่มทำ แต่ควรหาข้อมูลว่าทำไมจึงขายไม่ดี ในบางครั้งร้านค้าแบบเดียวกัน คนหนึ่งทำแล้วรุ่ง อีกคนทำแล้วเจ๊งก็มีเยอะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องวิตก ในทางตรงกันข้ามหากแนวร้านค้าที่คุณจะทำขายดีมาก แม้จะเป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องมาวิเคราะห์แนวโน้มแล้วว่าคนจะแห่มาทำหรือไม่ เราช้าไปหรือเปล่าด้วย
2. ให้สังเกตการซื้อการขาย ของร้านที่คล้ายๆกับเราในที่ๆเราจะทำเช่น ในสยาม ร้านพวกนี้อาจจะเป็นคู่แข่งเรา หรืออาจจะช่วยกันโตก็ได้ ไม่ต้องคิดมาก ให้พยายามตอบให้ได้ว่า ใครมาซื้อ และ ทำไมเขามาซื้อ (ทำเล สินค้า การตกแต่ง การบริการฯลฯ)
3. ให้สังเกตพฤติกรรมของคนที่เราคิดว่าจะเป็นลูกค้าเรา ว่าเขาชอบอะไร เขาซื้ออะไร ทำไมซื้อ
จบจากการสังเกตการณ์ เราก็พอจะทราบคร่าวๆว่า ใครจะมาซื้อเรา และทำไมถึงซื้อ แต่ตัวดิฉันเองคิดว่าคุณคงยังไม่มั่นใจและเบลอๆ เพราะจริงๆข้อมูลที่ได้จากการสังเกตถือว่าน้อยมาก ขอฝากอย่างหนึ่งว่า เราควรใช้เวลาในการสังเกตยาวนานพอสมควร และมากกว่า 2 ครั้งที่เป็นคนละวัน บางครั้งบังเอิญเราไปในช่วงที่เงียบๆ ก็อาจจะมาด่วนสรุปผลว่าไม่ดีได้
สำรวจตลาด
ขั้นตอนต่อมาเราจะเริ่มหารายละเอียดเพิ่มเติมในจุดต่างๆ วิธีการก็คือการทำแบบสอบถามง่ายๆ ขั้นตอนมีดังนี้
1. สร้างแบบสอบถาม วิธีก็คือให้ถามตัวเองว่าเราอยากรู้อะไร เช่น คุณเป็นใคร อายุ อาชีพ เพศ แล้วคุณเคยดื่มอะไรบ้าง คุณเคยดื่มน้ำผลไม้ปั่นหรือไม่ ชอบมั้ย ดื่มบ่อยมั้ย ราคาควรเป็นเท่าไร.........อยากรู้อะไรถามเลย
2. ออกสำรวจ วิธีการออกสอบถามง่ายๆ ก็คือเอาเพื่อนๆ และฝากเพื่อนไปถาม เพื่อนของเพื่อน หากเพื่อนไม่ใช่คนที่เราอยากถาม ก็ถามน้อง หรือเพื่อนน้อง ถามญาติพี่น้อง หรือหากกล้าและมีเวลาออกสำรวจตลาดจริงๆก็จะดี และได้รับรู้ข้อมูลที่ดีกว่า หลักง่ายๆคือถามให้ถูกคน และถามให้ได้จำนวนคนที่มากพอ
3. วิเคราะห์ผล เราคงไม่ต้องไปพิสูจน์ผลที่ได้มาด้วย วิธีทางสถิติเพราะมันจะยากไป อย่างไรก็ตามการคำนวณง่ายๆ ประเภทเปอร์เซ็น ตอบรับ และปฏิเสธเป็นเท่าไรควรจะต้องทำบ้าง หลังจากที่อ่านและรวบรวมผลต้องบันทึกผลเอาไว้ด้วย
ความผิดพลาดที่มักเกิดจากการทำสำรวจ
1. คุยกับทุกคน ยกเว้นคนที่จะเป็นลูกค้า
2. พยายามขายสินค้าแทนที่จะเพียงถาม
3. อัดคำถามเข้าไปเพียงต้องการคำตอบ โดยไม่ให้เวลาคิด
4. ลืมไปว่าที่ การตอบรับมาดี เพราะเราตั้งราคาไว้ต่ำ
5. ลืมวิเคราะห์ผลของการตอบโต้ของคู่แข่งที่อาจจะเกิด
ทดสอบตลาด
หลังจากรู้ข้อมูลมากขึ้น ดิฉันมั่นใจเป็นอย่างมากว่า ท่านคงรู้ข้อมูลมากขึ้นแล้ว และอาจจะต้องปรับแนวความคิดให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น สิ่งต่อมาคือการลองทดสอบตลาด ซึ่งท่านจะต้องมาปรับความคิดของท่านใหม่ตามข้อมูลที่ได้มา แล้วจึงลองทำสินค้าจำลอง หรือสั่งเข้ามาจำนวนน้อยๆเพื่อลองก่อน ยกตัวอย่างเพื่อนของดิฉันเคยทดลองขาย เครื่องเงิน โดยการซื้อของที่มีอยู่แล้วในตลาดมา แล้วนำมาเปลี่ยนโลโก้เข้าไปใหม่ หลังจากที่ลองฝากขายตามร้านค้าต่าง ๆ ดู จึงรู้ว่ามันขายได้ไม่ดี หรือมีอะไรต้องปรับอีกเยอะ
หลักของการทดสอบตลาดคือการทำที่เหมือนกับการขายจริง เพียงแต่ท่านยังไม่ได้ลงทุนอะไรไปมาก เช่นถ้าเป็นน้ำผลไม้สดปั่น อาจจะเริ่มจากการตั้งเป็นโต๊ะสักแห่ง หากเป็นธุรกิจอื่น ก็อ่านลองแบบรถเข็น ลองออกงานแสดงสินค้า(สำหรับบางธุรกิจ) ลองขายทางอินเตอร์เนต ลองฝากขาย แจกสินค้าตัวอย่างให้ลองใช้แล้วถามผล ในบางธุรกิจอาจจะไม่สามารถทดสอบตลาดดูได้ ก็ไม่เป็นไร
คุณนัทหทัย ฟักเทพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเดียเซ็นเตอร์ จำกัด
ร้านนำหวานซ่า “ไอเดียมิกซ์”
เราจะเลือกที่เป็นแหล่งชุมชน และเป็นย่านที่มีคนสัญจรไปมามาก ๆ เพราะเราได้ทำการทำสถิติมาแล้วว่า ประมาณ 30% ของคนที่เดินผ่านจะมาใช้บริการร้านเรา เพราะว่าการบริโภคของคนไทย ชอบทานน้ำอัดลม และน้ำหวานของเราก็มีลักษณะเหมือนกัน และราคาถูก
ร้านกาแฟ “ไอเดียคอฟฟี่”
ส่วนในการเลือกทำเลสำหรับกาแฟนั้น เราจะเลือกทำเลในย่านธุรกิจ หรือ ย่านสถาบันการศึกษา ตามตรอก ซอย ที่มีอาคารสำนักงาน สาเหตุที่เราไม่เลือกในตึกเพราะราคาของค่าเช่าที่ค่อนข้างแพง จะไม่เหมาะสมเพราะอาจจะคืนทุนได้ช้า แต่ถ้าเป็นตามซอย ในย่านธุรกิจ ค่าเช่าจะถูกกว่า เราะเราจะทำราคาได้ดี และสินค้าของเรามีคุณภาพ และ ปริมาณที่เหมาะสมอ้างอิงจาก : http://www.franchisefocus.co.th

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ทำอะไรดี


ปลูกตะกู

---ต้นตะกู ต้นกล้า5ไร่ 9000 บาท (ไม่รวมค่าขนส่งตอนซื้อ)ค่าปรับดินค่าตัดค่าดูแลค่าขนส่ง
1ไร่ปลูกได้ 100 ต้น(4*4เมตร) ได้ไร่ละ 100,000 บาท
5ไร่--500,000 บาท
5ปี ขายได้ ต้นละ 1,000 บาท

----นัทลงทุน 8,000,000ค่ารายเดือนประมาณ 70,000 บาท คืน 11 ปี
---ขายที่ดิน ซ.พร้อมพรรณ ตรว.ละ70,000 บาท ต้องการขายที่ดิน ซ.พร้อมพรรณ แยกซ.ลิ่มทอง เข้าจากปากซอย ประมาณ 200 ม.เนื้อที่ 71 ตารางวา ที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขายตารางวาละ 70,000 บาท ที่ดินเหมาะแก่การทำอพาร์ตเมนต์ เป็นแหล่งชุมชน ใกล้สิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ มากมาย ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน ห้างคาร์ฟู มหาวิทยาลัยหอการค้า กทม. 2 รวมถึง โรงเรียนเทคนิคจำนงค์ เส้นทางเข้าออกหลายสายสามารถทะลุเส้นรัชดาได้
สนใจติดต่อคุณพา 081-255-8854
----
ขายที่ดิน 106 ตารางวา ติดมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ติดต่อ อ.ปรีชา โทร 089-231-4136
-----
รุ่นแขน ยางพิเศษ ยก เทคอก10 ล้อสูง 2.9 ม.รถญี่ปุ่น นำเข้าสภาพพร้อมใช้งาน และเครื่องจักรอื่นๆที่ http://www.pattayaasset.com/http://www.taradb2b.com/vn/lead/sell/Zk0m02CP6wxIzz6mpPLEAU8Be7B7agXZ/รถตัก-ขนาดเล็ก-komatsu--sd10--toyota-sg10--ฯลฯ
รถตักล้อยาง มีหลังคา ขนาดยางหน้า 7.00-15, ขนาดยางหลัง 6.00-9
--ขายของให้หมู่บ้านโดยซื้อ บ้านของเค้า(เอาของแลกบ้าน)--โกลบอลเฮ้าส์ค่าของถูก แต่คิดค่ารถ กิโลเมตรละ 20 บาท--คอนโด--บ้าน--
ทำที่บ้านเช่า ห้องละ 1500 *10 รายได้ 15000 บาทต่อเดือนลงทุนประมาณ 1.5 ล้านคืนทุนใน 100 เดือน(10ปี)
ซื้อ ทาวน์เฮ้าส์ใหม่ ดอนเมืองประมาณ 1.5 ล้านให้เช่า เดือนละ 6000 บาทคืนทุนใน 250 เดือน( 25 ปี) แต่ได้ทรัพย์สินเพิ่ม
ถ้าให้เช่า 10 ปี จะเหลือมูลค่า 900000 บาท
dataทาว์นเฮ้าส์ 2 ชั้น 17 ตรว. สภาพดี ตกแต่งใหม่พร้อมอยู่ ทำเลใกล้ ม.ธุรกิจบัณฑิต, ม.เกษตร, เดอะมอลล์งามวงศ์วาน, ทางด่วน ราคา : 1450000 บาท สนใจติดต่อคุณ : บ. นครทอง พร็อพเพอร์ตี้ จก
ได้ที่ โทร/e-mail : 02-945-6363

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

truss 8*12 หรือ 8*24

โรงรถขนาด 8*6
C-------4-------T-------4------C
i i i
i i i
i i i
6 6 6
i i i
i i i
C---------------T--------------C

Deck patt Truss(ยาว6เมตร) ขนาด 0.3*0.5จำนวน 12 ช่วงใช้กล่องขนาด1.5"*1.5" หนา 2.3 mm
loadถ่ายลงเสา 650 +135 kg
purlin ขนาด สี่เหลี่ยม 4"*2"*2.3mm@1.00 m
กระเบื้องลอนคู่
ด้าน8 เมตร
ใช้Deck patt Truss รับtrussเล็กโดยใช้ขนาด0.3*0.5จำนวน 16 ช่วงใช้แป๊บ2.5"หนา2.8mm (6.47cm2) และยื่นด้านนอกอีกด้านละ1 ช่วง
loadถ่ายลงเสา kg
delta-Y -1.74cm (800/360=2.22cm)
Tmax-7,000 kg(1,082ksc)
Cmax-8,000 kg(1,237ksc)




เสาต้นในรับLoad 650+135+785=1,570kg
หมายเหตุ
คำนวณใช้Dead load หลังคา15 kg Live Load 50 kg

Trussของนัท(ก๊อท)

โรงรถขนาด 8*6
C-------4-------C-------4------C
i i i
i i i
i i i
6 6 6
i i i
i i i
C---------------C--------------C

Deck patt Truss(ยาว6เมตร) ขนาด 0.3*0.5จำนวน 12 ช่วงใช้กล่องขนาด1.5"*1.5" หนา 2.3 mm loadถ่ายลงเสา 650 kg
purlin ขนาด สี่เหลี่ยม 4"*2"*2.3mm@1.00 m
กระเบื้องลอนคู่
เข็มหกเหลี่ยม 3 m หลุมละต้น