วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้เกียร์อัตโนมัติ

การใช้เกียร์อัตโนมัติ

เกียร์อัตโนมัติที่ใช้งานกันอยู่ทั่วๆ ไปในปัจจุบันแบ่งออกตามโครงสร้างการควบคุมเป็น 2 แบบ คือ :

1. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบกลไก (Mechanism) โดยใช้สายเคเบิ้ลต่อมายังคันเร่งเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของคันเร่ง

2. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic) โดยรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตามจุดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการส่งกำลังมาประมวลผลในคอนโทรลยูนิตแล้ว จึงส่งสัญญาณไปควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดของเฟืองในชุดเกียร์O/D OFF SWITCH คือ สวิทช์เลือกใช้หรือไม่ใช้อัตราทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE) หากต้องการเลือกใช้อัตราทดเกียร์สูงสุดให้สังเกตที่สัญญาณไฟ บนหน้าปัดดังนี้ :

• เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ ติดสว่าง (สีส้ม) หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 3 เท่านั้น

•เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดดับ หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 4 (บางรุ่นเป็นเกียร์ 5) ซึ่งเป็นอัตรา
ทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE)

• LEVER POSITION คือ แผ่นตัวอักษรบอกตำแหน่งคันเกียร์

• RELEASE KNOB คือ ปุ่มปลดล็อคคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง "P" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ หลังจากดับเครื่องและดึงกุญแจออกแล้ว (เฉพาะรุ่นที่มีระบบ AUTO SHIFT LOCK CONTROL เท่านั้น)

AUTO คือ ตำแหน่งที่เกียร์เปลี่ยนตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติ และตามสภาวะที่เซ็นเซอร์ต่างๆPOWER หรือ SPORT คือ ตำแหน่งที่ต้องการอัตราเร่งสูง (ในรถบางรุ่นใช้ตัวอักษณ "S" บนสวิทช์แทน)

SNOW คือ ตำแหน่งที่ต้องการออกรถอย่างนิ่มนวลหรือใช้ขับบนถนนลื่น (ในรถบางรุ่นใช้ "SNOW" หรือสัญญลักษณ์ " S " บนสวิทช์แทนHOLD (มีเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น) คือ ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนอัตราทดคล้ายเกียร์ธรรมดา เหมาะกับการใช้ออกรถบนถนนลื่นเช่นกัน

สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้เกียร์อัตโนมัติ

1. สตาร์ทเครื่องยนต์ที่ตำแหน่ง "P" หรือ "N" หากอยู่ตำแหน่งอื่นจะไม่สามารถสตาร์ทได้ หากสตาร์ทที่ตำแหน่งอื่นๆได้ แสดงว่าเกิดความผิดปกติให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการทันที

2. เหยียบเบรคทุกครั้งก่อนที่จะเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" หรือ "P" ไปยังตำแหน่งขับเคลื่อนใดๆ

3. ให้เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบาเสมอก่อนเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ

4. ปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรครถจะเริ่มเคลื่อนที่ทันที

5. การจอดรถ-
จอดรถชั่วคราว
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทหลังจากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือเพื่อป้องกันการเข้าเกียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ- จอดรถบนทางลาดเอียง เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือแล้วจึงปล่อยคันเหยียบเบรค ห้ามใช้เกียร์ตำแหน่งอื่นๆ บนทางลาดเอียงเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมัน และชิ้นส่วนภายในเกียร์เกิดความร้อนสูงเกินไป-
จอดรถเป็นเวลานาน
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทแล้วจึงเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "P" จากนั้นจึงดึงเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคการใช้เกียร์ในตำแหน่งต่างๆ- P (PARK)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "P" เมื่อต้องการจอดรถหรือสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยใช้ร่วมกับเบรคมือเสมอกรณีจอดรถบนทางลาดชันให้ดึงเบรคมือก่อนแล้วจึงเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปยัง "P"- R (REVERSE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "R" เมื่อต้องการถอยหลัง รถจะต้องหยุดนิ่งแล้วเท่านั้นจึงเลื่อนเข้าตำแหน่งนี้- N (NEUTRAL)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "N" ไม่มีการส่งกำลังเดินหน้าหรือถอยหลังและสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ อาจ ใช้ตำแหน่ง "N" สตาร์ทเครื่องยนต์ได้ในกรณีเครื่องยนต์ดับขณะกำลังเคลื่อนที่อยู่- D (DRIVE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "D" ในการขับแบบปกติ (เดินหน้า)- 2 (SECOND GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "2" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับรถลงเนินเขาที่ไม่ลาดชันมากนัก- 1 (LOW GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "1" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับลงเนินเขาสูงชันด้วยความเร็วต่ำ หรือถนนลื่นมีหิมะตกหนา, ทราย, โคลนลื่นการใช้ KICKDOWNใช้ตำแหน่ง KICKDOWN เมื่อต้องการเร่งแซงด้วยความรวดเร็วหรือต้องการขับขึ้นทางลาดชันโดยการเหยียบคันเร่งให้สุด (คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "D") อัตราทดจะเปลี่ยนจากเดิมลงหนึ่งหรือสองอัตราทดขึ้นอยู่กับความเร็วของรถขณะนั้นการใช้ OVERDRIVE SWITCHการใช้ OVERDRIVE SWITCH (O/D SW.) โดยปกติทั่วไปแล้วจะติดตั้งอยู่ที่คันเลือกตำแหน่งเกียร์ (คันเกียร์) ของรถที่ใช้ระบบส่งถ่ายกำลังแบบอัตโนมัติและจะมีสัญญาณไฟ OVERDRIVE OFF (O/D OFF) โชว์บนหน้าปัดการใช้ O/D SW. นี้จะใช้ได้เฉพาะเกียร์ตำแหน่ง D เท่านั้น ซึ่งผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ได้ 2 ตำแหน่งดังนี้คือ :

1. O/D ON ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะไม่ติดซึ่งเหมาะสมสำหรับการขับขี่ตามสภาพปกติ หรือความเร็วสูงเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการใช้เกียร์ในตำแหน่งสูงสุดของระบบเกียร์ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

2. O/D OFF ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่างเหมาะสำหรับการขับขึ้น-ลงทางลาดชัน ซึ่งต้องการแรงขับ และแรงหน่วงของเครื่องยนต์ หรือใช้ในขณะที่ต้องการอัตราการเร่งแซงขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการลดอัตราทดเกียร์ลงหนึ่งอัตราทด คล้ายกับการเปลี่ยนเกียร์ลงจากตำแหน่งเกียร์สูงสุด ในระบบส่งถ่ายกำลังหนึ่งเกียร์

การใช้ O/D SW. ตำแหน่ง OFF นี้จะแตกต่างกับการใช้ KICKDOWN ของระบบเกียร์ เพราะการใช้ KICKDOWN คือการเหยียบหรือกดคันเร่งทันทีทันใดจนสุด จะทำให้อัตราทดเกียร์ลดลงโดยทันที 1 หรือ 2 อัตราทด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถในขณะนั้นๆ

ด้วยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการใช้งานเกียร์อัตโนมัติโดยปกติทั่วไป ซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานเหมือนกันทั้งระบบควบคุมแบบกลไกและแบบอิเลคทรอนิกส์ เพียงแต่แบบอิเลคทรอนิกส์จะมีระบบการทำงานพิเศษ เพิ่มเติมไปจากแบบกลไกเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับในรูปแบบต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป

การใช้งานใน MODE ต่างๆ

AUTO MODE สำหรับการขับแบบปกติทั่วไป (เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดเองโดยอัตโนมัติ) โดยการกดปุ่ม MODE SWITCH ให้อยู่ในตำแหน่ง AUTO (ตำแหน่งกลาง) เราสามารถเลือกใช้ตำแหน่ง AUTO นี้ในการขับขี่แบบธรรมดาทางเรียบ และไม่ต้องการอัตราเร่ง ซึ่งเป็นการขับในสภาวะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าต้องการเร่งเพื่อแซงหรือทำความเร็วเพิ่มขึ้นโดยเหยียบคันเร่งอย่างรวดเร็ว คอนโทรลยูนิตจะปรับรูปแบบให้เป็นการทำงานใน MODE POWER โดยอัตโนมัติ และสัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่างขึ้นและจะดับเมื่อความเร็วรถและรอบเครื่องยนต์สัมพันธ์กัน

SNOW MODE สำหรับการขับบนถนนลื่นโดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง SNOWสัญญาณไฟจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้เป็นแบบช้าๆ กล่าวคือ การขับเคลื่อนจะใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ (รถจะเริ่มเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ) ใน MODE นี้จะให้ความรู้สึกในการขับอย่างนิ่มนวล

POWER MODE (SPORT) สำหรับการขับที่ต้องการอัตราเร่งในลักษณะเหมือนรถ SPORT หรือในสภาวะที่ต้องขับรถขึ้นทางลาดเอียงเป็นระยะทางไกลๆ โดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง POWER (SPORT) สัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังเป็นแบบ SPORT กล่าวคือ ช่วงเวลาในการเปลี่ยนจากอัตราทดหนึ่งไปยังอีกอัตราทดหนึ่ง จะใช้เวลานานกว่าและใช้รอบเครื่องยนต์สูงกว่าปกติเพื่อให้ได้แรงบิดและกำลังสูงสุด ซึ่งสามารถใช้การทำงานใน MODE นี้เพื่อการแซงหรือไต่ทางลาดได้ดี

HOLD MODE สำหรับการขับที่ต้องการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์คล้ายกับเกียร์ธรรมดาโดยกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง HOLD ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้อัตราทดเป็นไปตามตำแหน่งของคันเกียร์และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟ กล่าวคือ ถ้าเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D" และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "ON" อัตราทดเกียร์จะเป็นอัตราทดที่เกียร์สูงสุด (อัตราทดเกียร์ 4) หรืออัตราทดจะลดลงมา 1 อัตรา เมื่อปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "OFF" และเกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดไป-มา ระหว่างอัตราทดที่ 2 และอัตราทดที่ 3 เมื่อรถเริ่มออกตัวหรือเร่งความเร็วในขณะที่มีความเร็วต่ำ แต่ถ้าเลื่อนคันเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง "2" อัตราทดเกียร์จะล็อคอัตราทดอยู่ที่ 2 ( หมายเหตุ : HOLD MODE มีติดตั้งเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น )

ระบบ FAIL-SAFE (ระบบการทำงานสำรองเมื่อเกิดอาการผิดปกติ) เมื่อเกิดอาการผิดปกติของเกียร์ ระบบ FAIL-SAFE จะทำงานโดยบันทึกข้อมูลที่ตรวจพบไว้ในหน่วความจำ โดยในการใช้งานครั้งต่อไปหลังจากบิดสวิทช์กุญแจไปยังตำแหน่ง "ON" สัญญาณ หรือ บนหน้าปัดจะติดสว่างอยู่ 2 วินาที และจะกระพริบต่อเนื่องนานประมาณ 8 วินาที ในขณะเดียวกันรถยังสามารถขับได้ในสภาวะที่กำหนดโดยเกียร์จะถูกล็อคอัตราทดให้คงอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ 3ระบบ FAIL-SAFE อาจทำงานขึ้นได้โดยการบันทึกข้อมูลการใช้งานในสภาวะสุดท้าย เช่น การขับที่ทำให้ล้อหมุนฟรีหรือมีการเบรคอย่างรุนแรง จากลักษณะดังกล่าวถ้าอุปกรณ์ต่างๆ สมบูรณ์ไม่พบสิ่งผิดปกติให้บิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง "OFF" รอ 3 วินาทีแล้วจึงบิดกลับไปตำแหน่ง "ON" สัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ถ้าไม่เป็นดังกล่าวให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการโดยเร็ว

ข้อควรระวังในการใช้งาน :

1. ขณะที่เครื่องยนต์อุณหภูมิต่ำ ความเร็วรอบจะสูงกว่าปกติ จึงควรระวังในการเข้าเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง อาจเกิดการกระตุก ดังนั้นจึงควรอุ่นเครื่องยนต์ให้ถึงอุณหภูมิทำงานก่อน

2. หลีกเลี่ยงการเร่งเครื่องยนต์ในขณะที่รถจอดอยู่กับที่ เพราะอาจทำให้รถเคลื่อนที่เองได้

3. อย่าเลื่อนคันเกียร์เข้าตำแหน่ง P หรือ R ในขณะที่รถยังเคลื่อนที่อยู่

4. ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการจะใช้ให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เช่น D, 2, 1 จะเป็นเกียร์เดินหน้า R จะเป็นเกียร์ถอยหลัง จากนั้นปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคมาเหยียบคันเร่งให้ รถเคลื่อนที่ (ควรหลีกเลี่ยงการออกรถด้วยความรุนแรงหรือล้อหมุนฟรีอยู่กับที่)