วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ขอถามเกี๋ยวกับ ปิด/เปิด EDGE
ให้ไปเปลี่ยนค่า apn เวลาจะไม่ต่อเน็ตครับ ผมทำอยู่เป็นประจำเพราะเครื่องก็ไม่ได้ jailbreak ครับ setting > general > Network > Cellular Data Network แล้วก็แก้ apn ให้ไม่ถูกแค่นี้ก็พอครับ อย่างผมใช้ dtac APN = www.dtac.co.th ผมก็จะลบตัว h ตัวสุดท้ายออกเวลาจะเล่นเน็ตก็มาใส่ตัว h แค่นี้เองครับ ปลอดภัยไร้กังวล แก้ไม่ยากด้วย เพราะการเปลี่ยน apn ให้ผิดแล้วมันจะไปมีทางออกไปเน็ตได้อย่างไร วิธีนี้ผมว่าชัวร์กว่า bosspref ที่ต้อง Jailbreak อีก เห็นหายคนใช้ bosspref แล้วมันก็ยังต่อเน็ตได้
การใช้เกียร์อัตโนมัติ
การใช้เกียร์อัตโนมัติ
เกียร์อัตโนมัติที่ใช้งานกันอยู่ทั่วๆ ไปในปัจจุบันแบ่งออกตามโครงสร้างการควบคุมเป็น 2 แบบ คือ :
1. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบกลไก (Mechanism) โดยใช้สายเคเบิ้ลต่อมายังคันเร่งเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของคันเร่ง
2. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic) โดยรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตามจุดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการส่งกำลังมาประมวลผลในคอนโทรลยูนิตแล้ว จึงส่งสัญญาณไปควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดของเฟืองในชุดเกียร์O/D OFF SWITCH คือ สวิทช์เลือกใช้หรือไม่ใช้อัตราทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE) หากต้องการเลือกใช้อัตราทดเกียร์สูงสุดให้สังเกตที่สัญญาณไฟ บนหน้าปัดดังนี้ :
• เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ ติดสว่าง (สีส้ม) หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 3 เท่านั้น
•เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดดับ หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 4 (บางรุ่นเป็นเกียร์ 5) ซึ่งเป็นอัตรา
ทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE)
• LEVER POSITION คือ แผ่นตัวอักษรบอกตำแหน่งคันเกียร์
• RELEASE KNOB คือ ปุ่มปลดล็อคคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง "P" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ หลังจากดับเครื่องและดึงกุญแจออกแล้ว (เฉพาะรุ่นที่มีระบบ AUTO SHIFT LOCK CONTROL เท่านั้น)
AUTO คือ ตำแหน่งที่เกียร์เปลี่ยนตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติ และตามสภาวะที่เซ็นเซอร์ต่างๆPOWER หรือ SPORT คือ ตำแหน่งที่ต้องการอัตราเร่งสูง (ในรถบางรุ่นใช้ตัวอักษณ "S" บนสวิทช์แทน)
SNOW คือ ตำแหน่งที่ต้องการออกรถอย่างนิ่มนวลหรือใช้ขับบนถนนลื่น (ในรถบางรุ่นใช้ "SNOW" หรือสัญญลักษณ์ " S " บนสวิทช์แทนHOLD (มีเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น) คือ ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนอัตราทดคล้ายเกียร์ธรรมดา เหมาะกับการใช้ออกรถบนถนนลื่นเช่นกัน
สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้เกียร์อัตโนมัติ
1. สตาร์ทเครื่องยนต์ที่ตำแหน่ง "P" หรือ "N" หากอยู่ตำแหน่งอื่นจะไม่สามารถสตาร์ทได้ หากสตาร์ทที่ตำแหน่งอื่นๆได้ แสดงว่าเกิดความผิดปกติให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการทันที
2. เหยียบเบรคทุกครั้งก่อนที่จะเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" หรือ "P" ไปยังตำแหน่งขับเคลื่อนใดๆ
3. ให้เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบาเสมอก่อนเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ
4. ปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรครถจะเริ่มเคลื่อนที่ทันที
5. การจอดรถ-
จอดรถชั่วคราว
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทหลังจากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือเพื่อป้องกันการเข้าเกียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ- จอดรถบนทางลาดเอียง เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือแล้วจึงปล่อยคันเหยียบเบรค ห้ามใช้เกียร์ตำแหน่งอื่นๆ บนทางลาดเอียงเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมัน และชิ้นส่วนภายในเกียร์เกิดความร้อนสูงเกินไป-
จอดรถเป็นเวลานาน
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทแล้วจึงเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "P" จากนั้นจึงดึงเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคการใช้เกียร์ในตำแหน่งต่างๆ- P (PARK)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "P" เมื่อต้องการจอดรถหรือสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยใช้ร่วมกับเบรคมือเสมอกรณีจอดรถบนทางลาดชันให้ดึงเบรคมือก่อนแล้วจึงเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปยัง "P"- R (REVERSE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "R" เมื่อต้องการถอยหลัง รถจะต้องหยุดนิ่งแล้วเท่านั้นจึงเลื่อนเข้าตำแหน่งนี้- N (NEUTRAL)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "N" ไม่มีการส่งกำลังเดินหน้าหรือถอยหลังและสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ อาจ ใช้ตำแหน่ง "N" สตาร์ทเครื่องยนต์ได้ในกรณีเครื่องยนต์ดับขณะกำลังเคลื่อนที่อยู่- D (DRIVE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "D" ในการขับแบบปกติ (เดินหน้า)- 2 (SECOND GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "2" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับรถลงเนินเขาที่ไม่ลาดชันมากนัก- 1 (LOW GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "1" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับลงเนินเขาสูงชันด้วยความเร็วต่ำ หรือถนนลื่นมีหิมะตกหนา, ทราย, โคลนลื่นการใช้ KICKDOWNใช้ตำแหน่ง KICKDOWN เมื่อต้องการเร่งแซงด้วยความรวดเร็วหรือต้องการขับขึ้นทางลาดชันโดยการเหยียบคันเร่งให้สุด (คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "D") อัตราทดจะเปลี่ยนจากเดิมลงหนึ่งหรือสองอัตราทดขึ้นอยู่กับความเร็วของรถขณะนั้นการใช้ OVERDRIVE SWITCHการใช้ OVERDRIVE SWITCH (O/D SW.) โดยปกติทั่วไปแล้วจะติดตั้งอยู่ที่คันเลือกตำแหน่งเกียร์ (คันเกียร์) ของรถที่ใช้ระบบส่งถ่ายกำลังแบบอัตโนมัติและจะมีสัญญาณไฟ OVERDRIVE OFF (O/D OFF) โชว์บนหน้าปัดการใช้ O/D SW. นี้จะใช้ได้เฉพาะเกียร์ตำแหน่ง D เท่านั้น ซึ่งผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ได้ 2 ตำแหน่งดังนี้คือ :
1. O/D ON ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะไม่ติดซึ่งเหมาะสมสำหรับการขับขี่ตามสภาพปกติ หรือความเร็วสูงเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการใช้เกียร์ในตำแหน่งสูงสุดของระบบเกียร์ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
2. O/D OFF ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่างเหมาะสำหรับการขับขึ้น-ลงทางลาดชัน ซึ่งต้องการแรงขับ และแรงหน่วงของเครื่องยนต์ หรือใช้ในขณะที่ต้องการอัตราการเร่งแซงขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการลดอัตราทดเกียร์ลงหนึ่งอัตราทด คล้ายกับการเปลี่ยนเกียร์ลงจากตำแหน่งเกียร์สูงสุด ในระบบส่งถ่ายกำลังหนึ่งเกียร์
การใช้ O/D SW. ตำแหน่ง OFF นี้จะแตกต่างกับการใช้ KICKDOWN ของระบบเกียร์ เพราะการใช้ KICKDOWN คือการเหยียบหรือกดคันเร่งทันทีทันใดจนสุด จะทำให้อัตราทดเกียร์ลดลงโดยทันที 1 หรือ 2 อัตราทด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถในขณะนั้นๆ
ด้วยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการใช้งานเกียร์อัตโนมัติโดยปกติทั่วไป ซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานเหมือนกันทั้งระบบควบคุมแบบกลไกและแบบอิเลคทรอนิกส์ เพียงแต่แบบอิเลคทรอนิกส์จะมีระบบการทำงานพิเศษ เพิ่มเติมไปจากแบบกลไกเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับในรูปแบบต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป
การใช้งานใน MODE ต่างๆ
AUTO MODE สำหรับการขับแบบปกติทั่วไป (เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดเองโดยอัตโนมัติ) โดยการกดปุ่ม MODE SWITCH ให้อยู่ในตำแหน่ง AUTO (ตำแหน่งกลาง) เราสามารถเลือกใช้ตำแหน่ง AUTO นี้ในการขับขี่แบบธรรมดาทางเรียบ และไม่ต้องการอัตราเร่ง ซึ่งเป็นการขับในสภาวะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าต้องการเร่งเพื่อแซงหรือทำความเร็วเพิ่มขึ้นโดยเหยียบคันเร่งอย่างรวดเร็ว คอนโทรลยูนิตจะปรับรูปแบบให้เป็นการทำงานใน MODE POWER โดยอัตโนมัติ และสัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่างขึ้นและจะดับเมื่อความเร็วรถและรอบเครื่องยนต์สัมพันธ์กัน
SNOW MODE สำหรับการขับบนถนนลื่นโดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง SNOWสัญญาณไฟจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้เป็นแบบช้าๆ กล่าวคือ การขับเคลื่อนจะใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ (รถจะเริ่มเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ) ใน MODE นี้จะให้ความรู้สึกในการขับอย่างนิ่มนวล
POWER MODE (SPORT) สำหรับการขับที่ต้องการอัตราเร่งในลักษณะเหมือนรถ SPORT หรือในสภาวะที่ต้องขับรถขึ้นทางลาดเอียงเป็นระยะทางไกลๆ โดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง POWER (SPORT) สัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังเป็นแบบ SPORT กล่าวคือ ช่วงเวลาในการเปลี่ยนจากอัตราทดหนึ่งไปยังอีกอัตราทดหนึ่ง จะใช้เวลานานกว่าและใช้รอบเครื่องยนต์สูงกว่าปกติเพื่อให้ได้แรงบิดและกำลังสูงสุด ซึ่งสามารถใช้การทำงานใน MODE นี้เพื่อการแซงหรือไต่ทางลาดได้ดี
HOLD MODE สำหรับการขับที่ต้องการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์คล้ายกับเกียร์ธรรมดาโดยกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง HOLD ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้อัตราทดเป็นไปตามตำแหน่งของคันเกียร์และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟ กล่าวคือ ถ้าเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D" และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "ON" อัตราทดเกียร์จะเป็นอัตราทดที่เกียร์สูงสุด (อัตราทดเกียร์ 4) หรืออัตราทดจะลดลงมา 1 อัตรา เมื่อปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "OFF" และเกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดไป-มา ระหว่างอัตราทดที่ 2 และอัตราทดที่ 3 เมื่อรถเริ่มออกตัวหรือเร่งความเร็วในขณะที่มีความเร็วต่ำ แต่ถ้าเลื่อนคันเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง "2" อัตราทดเกียร์จะล็อคอัตราทดอยู่ที่ 2 ( หมายเหตุ : HOLD MODE มีติดตั้งเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น )
ระบบ FAIL-SAFE (ระบบการทำงานสำรองเมื่อเกิดอาการผิดปกติ) เมื่อเกิดอาการผิดปกติของเกียร์ ระบบ FAIL-SAFE จะทำงานโดยบันทึกข้อมูลที่ตรวจพบไว้ในหน่วความจำ โดยในการใช้งานครั้งต่อไปหลังจากบิดสวิทช์กุญแจไปยังตำแหน่ง "ON" สัญญาณ หรือ บนหน้าปัดจะติดสว่างอยู่ 2 วินาที และจะกระพริบต่อเนื่องนานประมาณ 8 วินาที ในขณะเดียวกันรถยังสามารถขับได้ในสภาวะที่กำหนดโดยเกียร์จะถูกล็อคอัตราทดให้คงอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ 3ระบบ FAIL-SAFE อาจทำงานขึ้นได้โดยการบันทึกข้อมูลการใช้งานในสภาวะสุดท้าย เช่น การขับที่ทำให้ล้อหมุนฟรีหรือมีการเบรคอย่างรุนแรง จากลักษณะดังกล่าวถ้าอุปกรณ์ต่างๆ สมบูรณ์ไม่พบสิ่งผิดปกติให้บิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง "OFF" รอ 3 วินาทีแล้วจึงบิดกลับไปตำแหน่ง "ON" สัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ถ้าไม่เป็นดังกล่าวให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการโดยเร็ว
ข้อควรระวังในการใช้งาน :
1. ขณะที่เครื่องยนต์อุณหภูมิต่ำ ความเร็วรอบจะสูงกว่าปกติ จึงควรระวังในการเข้าเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง อาจเกิดการกระตุก ดังนั้นจึงควรอุ่นเครื่องยนต์ให้ถึงอุณหภูมิทำงานก่อน
2. หลีกเลี่ยงการเร่งเครื่องยนต์ในขณะที่รถจอดอยู่กับที่ เพราะอาจทำให้รถเคลื่อนที่เองได้
3. อย่าเลื่อนคันเกียร์เข้าตำแหน่ง P หรือ R ในขณะที่รถยังเคลื่อนที่อยู่
4. ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการจะใช้ให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เช่น D, 2, 1 จะเป็นเกียร์เดินหน้า R จะเป็นเกียร์ถอยหลัง จากนั้นปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคมาเหยียบคันเร่งให้ รถเคลื่อนที่ (ควรหลีกเลี่ยงการออกรถด้วยความรุนแรงหรือล้อหมุนฟรีอยู่กับที่)
เกียร์อัตโนมัติที่ใช้งานกันอยู่ทั่วๆ ไปในปัจจุบันแบ่งออกตามโครงสร้างการควบคุมเป็น 2 แบบ คือ :
1. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบกลไก (Mechanism) โดยใช้สายเคเบิ้ลต่อมายังคันเร่งเพื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของคันเร่ง
2. ควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic) โดยรับข้อมูลจากเซ็นเซอร์ตามจุดต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการส่งกำลังมาประมวลผลในคอนโทรลยูนิตแล้ว จึงส่งสัญญาณไปควบคุมการเปลี่ยนอัตราทดของเฟืองในชุดเกียร์O/D OFF SWITCH คือ สวิทช์เลือกใช้หรือไม่ใช้อัตราทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE) หากต้องการเลือกใช้อัตราทดเกียร์สูงสุดให้สังเกตที่สัญญาณไฟ บนหน้าปัดดังนี้ :
• เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ ติดสว่าง (สีส้ม) หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 3 เท่านั้น
•เมื่อกดสวิทช์ O/D OFF ให้ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดดับ หมายถึง ขณะนี้เกียร์จะเปลี่ยนจากอัตราทดเกียร์ 1 ถึง เกียร์ 4 (บางรุ่นเป็นเกียร์ 5) ซึ่งเป็นอัตรา
ทดเกียร์สูงสุด (OVERDRIVE)
• LEVER POSITION คือ แผ่นตัวอักษรบอกตำแหน่งคันเกียร์
• RELEASE KNOB คือ ปุ่มปลดล็อคคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง "P" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ หลังจากดับเครื่องและดึงกุญแจออกแล้ว (เฉพาะรุ่นที่มีระบบ AUTO SHIFT LOCK CONTROL เท่านั้น)
AUTO คือ ตำแหน่งที่เกียร์เปลี่ยนตามขั้นตอนโดยอัตโนมัติ และตามสภาวะที่เซ็นเซอร์ต่างๆPOWER หรือ SPORT คือ ตำแหน่งที่ต้องการอัตราเร่งสูง (ในรถบางรุ่นใช้ตัวอักษณ "S" บนสวิทช์แทน)
SNOW คือ ตำแหน่งที่ต้องการออกรถอย่างนิ่มนวลหรือใช้ขับบนถนนลื่น (ในรถบางรุ่นใช้ "SNOW" หรือสัญญลักษณ์ " S " บนสวิทช์แทนHOLD (มีเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น) คือ ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนอัตราทดคล้ายเกียร์ธรรมดา เหมาะกับการใช้ออกรถบนถนนลื่นเช่นกัน
สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้เกียร์อัตโนมัติ
1. สตาร์ทเครื่องยนต์ที่ตำแหน่ง "P" หรือ "N" หากอยู่ตำแหน่งอื่นจะไม่สามารถสตาร์ทได้ หากสตาร์ทที่ตำแหน่งอื่นๆได้ แสดงว่าเกิดความผิดปกติให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการทันที
2. เหยียบเบรคทุกครั้งก่อนที่จะเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" หรือ "P" ไปยังตำแหน่งขับเคลื่อนใดๆ
3. ให้เครื่องยนต์อยู่ในรอบเดินเบาเสมอก่อนเลื่อนคันเกียร์จากตำแหน่ง "N" ไปยังตำแหน่งอื่นๆ
4. ปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรครถจะเริ่มเคลื่อนที่ทันที
5. การจอดรถ-
จอดรถชั่วคราว
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทหลังจากนั้นเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือเพื่อป้องกันการเข้าเกียร์โดยไม่ได้ตั้งใจ- จอดรถบนทางลาดเอียง เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิท เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่ง "N" และดึงเบรคมือแล้วจึงปล่อยคันเหยียบเบรค ห้ามใช้เกียร์ตำแหน่งอื่นๆ บนทางลาดเอียงเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมัน และชิ้นส่วนภายในเกียร์เกิดความร้อนสูงเกินไป-
จอดรถเป็นเวลานาน
เหยียบเบรคให้รถหยุดสนิทแล้วจึงเลื่อนคันเกียร์ไปยังตำแหน่ง "P" จากนั้นจึงดึงเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคการใช้เกียร์ในตำแหน่งต่างๆ- P (PARK)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "P" เมื่อต้องการจอดรถหรือสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยใช้ร่วมกับเบรคมือเสมอกรณีจอดรถบนทางลาดชันให้ดึงเบรคมือก่อนแล้วจึงเลื่อนตำแหน่งเกียร์ไปยัง "P"- R (REVERSE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "R" เมื่อต้องการถอยหลัง รถจะต้องหยุดนิ่งแล้วเท่านั้นจึงเลื่อนเข้าตำแหน่งนี้- N (NEUTRAL)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "N" ไม่มีการส่งกำลังเดินหน้าหรือถอยหลังและสามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ อาจ ใช้ตำแหน่ง "N" สตาร์ทเครื่องยนต์ได้ในกรณีเครื่องยนต์ดับขณะกำลังเคลื่อนที่อยู่- D (DRIVE)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "D" ในการขับแบบปกติ (เดินหน้า)- 2 (SECOND GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "2" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับรถลงเนินเขาที่ไม่ลาดชันมากนัก- 1 (LOW GEAR)ใช้เกียร์ตำแหน่ง "1" ในกรณีต้องการกำลังขับไต่ขึ้นหรือต้องการแรงหน่วงจากเครื่องยนต์ขณะขับลงเนินเขาสูงชันด้วยความเร็วต่ำ หรือถนนลื่นมีหิมะตกหนา, ทราย, โคลนลื่นการใช้ KICKDOWNใช้ตำแหน่ง KICKDOWN เมื่อต้องการเร่งแซงด้วยความรวดเร็วหรือต้องการขับขึ้นทางลาดชันโดยการเหยียบคันเร่งให้สุด (คันเกียร์อยู่ในตำแหน่ง "D") อัตราทดจะเปลี่ยนจากเดิมลงหนึ่งหรือสองอัตราทดขึ้นอยู่กับความเร็วของรถขณะนั้นการใช้ OVERDRIVE SWITCHการใช้ OVERDRIVE SWITCH (O/D SW.) โดยปกติทั่วไปแล้วจะติดตั้งอยู่ที่คันเลือกตำแหน่งเกียร์ (คันเกียร์) ของรถที่ใช้ระบบส่งถ่ายกำลังแบบอัตโนมัติและจะมีสัญญาณไฟ OVERDRIVE OFF (O/D OFF) โชว์บนหน้าปัดการใช้ O/D SW. นี้จะใช้ได้เฉพาะเกียร์ตำแหน่ง D เท่านั้น ซึ่งผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ได้ 2 ตำแหน่งดังนี้คือ :
1. O/D ON ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะไม่ติดซึ่งเหมาะสมสำหรับการขับขี่ตามสภาพปกติ หรือความเร็วสูงเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการใช้เกียร์ในตำแหน่งสูงสุดของระบบเกียร์ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
2. O/D OFF ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่างเหมาะสำหรับการขับขึ้น-ลงทางลาดชัน ซึ่งต้องการแรงขับ และแรงหน่วงของเครื่องยนต์ หรือใช้ในขณะที่ต้องการอัตราการเร่งแซงขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นการลดอัตราทดเกียร์ลงหนึ่งอัตราทด คล้ายกับการเปลี่ยนเกียร์ลงจากตำแหน่งเกียร์สูงสุด ในระบบส่งถ่ายกำลังหนึ่งเกียร์
การใช้ O/D SW. ตำแหน่ง OFF นี้จะแตกต่างกับการใช้ KICKDOWN ของระบบเกียร์ เพราะการใช้ KICKDOWN คือการเหยียบหรือกดคันเร่งทันทีทันใดจนสุด จะทำให้อัตราทดเกียร์ลดลงโดยทันที 1 หรือ 2 อัตราทด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วของรถในขณะนั้นๆ
ด้วยที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นการใช้งานเกียร์อัตโนมัติโดยปกติทั่วไป ซึ่งมีขั้นตอนการใช้งานเหมือนกันทั้งระบบควบคุมแบบกลไกและแบบอิเลคทรอนิกส์ เพียงแต่แบบอิเลคทรอนิกส์จะมีระบบการทำงานพิเศษ เพิ่มเติมไปจากแบบกลไกเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสมรรถนะการขับในรูปแบบต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไป
การใช้งานใน MODE ต่างๆ
AUTO MODE สำหรับการขับแบบปกติทั่วไป (เกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดเองโดยอัตโนมัติ) โดยการกดปุ่ม MODE SWITCH ให้อยู่ในตำแหน่ง AUTO (ตำแหน่งกลาง) เราสามารถเลือกใช้ตำแหน่ง AUTO นี้ในการขับขี่แบบธรรมดาทางเรียบ และไม่ต้องการอัตราเร่ง ซึ่งเป็นการขับในสภาวะประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าต้องการเร่งเพื่อแซงหรือทำความเร็วเพิ่มขึ้นโดยเหยียบคันเร่งอย่างรวดเร็ว คอนโทรลยูนิตจะปรับรูปแบบให้เป็นการทำงานใน MODE POWER โดยอัตโนมัติ และสัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่างขึ้นและจะดับเมื่อความเร็วรถและรอบเครื่องยนต์สัมพันธ์กัน
SNOW MODE สำหรับการขับบนถนนลื่นโดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง SNOWสัญญาณไฟจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้เป็นแบบช้าๆ กล่าวคือ การขับเคลื่อนจะใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ (รถจะเริ่มเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ) ใน MODE นี้จะให้ความรู้สึกในการขับอย่างนิ่มนวล
POWER MODE (SPORT) สำหรับการขับที่ต้องการอัตราเร่งในลักษณะเหมือนรถ SPORT หรือในสภาวะที่ต้องขับรถขึ้นทางลาดเอียงเป็นระยะทางไกลๆ โดยการกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง POWER (SPORT) สัญญาณไฟ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังเป็นแบบ SPORT กล่าวคือ ช่วงเวลาในการเปลี่ยนจากอัตราทดหนึ่งไปยังอีกอัตราทดหนึ่ง จะใช้เวลานานกว่าและใช้รอบเครื่องยนต์สูงกว่าปกติเพื่อให้ได้แรงบิดและกำลังสูงสุด ซึ่งสามารถใช้การทำงานใน MODE นี้เพื่อการแซงหรือไต่ทางลาดได้ดี
HOLD MODE สำหรับการขับที่ต้องการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์คล้ายกับเกียร์ธรรมดาโดยกด MODE SWITCH ไปยังตำแหน่ง HOLD ไฟสัญญาณ บนหน้าปัดจะติดสว่าง ระบบอิเลคทรอนิกส์จะปรับรูปแบบการส่งกำลังให้อัตราทดเป็นไปตามตำแหน่งของคันเกียร์และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟ กล่าวคือ ถ้าเลื่อนคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง "D" และปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "ON" อัตราทดเกียร์จะเป็นอัตราทดที่เกียร์สูงสุด (อัตราทดเกียร์ 4) หรืออัตราทดจะลดลงมา 1 อัตรา เมื่อปุ่มสวิทช์โอเวอร์ไดร์ฟอยู่ในตำแหน่ง "OFF" และเกียร์จะเปลี่ยนอัตราทดไป-มา ระหว่างอัตราทดที่ 2 และอัตราทดที่ 3 เมื่อรถเริ่มออกตัวหรือเร่งความเร็วในขณะที่มีความเร็วต่ำ แต่ถ้าเลื่อนคันเกียร์มาอยู่ที่ตำแหน่ง "2" อัตราทดเกียร์จะล็อคอัตราทดอยู่ที่ 2 ( หมายเหตุ : HOLD MODE มีติดตั้งเฉพาะในรถรุ่น A31 เท่านั้น )
ระบบ FAIL-SAFE (ระบบการทำงานสำรองเมื่อเกิดอาการผิดปกติ) เมื่อเกิดอาการผิดปกติของเกียร์ ระบบ FAIL-SAFE จะทำงานโดยบันทึกข้อมูลที่ตรวจพบไว้ในหน่วความจำ โดยในการใช้งานครั้งต่อไปหลังจากบิดสวิทช์กุญแจไปยังตำแหน่ง "ON" สัญญาณ หรือ บนหน้าปัดจะติดสว่างอยู่ 2 วินาที และจะกระพริบต่อเนื่องนานประมาณ 8 วินาที ในขณะเดียวกันรถยังสามารถขับได้ในสภาวะที่กำหนดโดยเกียร์จะถูกล็อคอัตราทดให้คงอยู่ที่ตำแหน่งเกียร์ 3ระบบ FAIL-SAFE อาจทำงานขึ้นได้โดยการบันทึกข้อมูลการใช้งานในสภาวะสุดท้าย เช่น การขับที่ทำให้ล้อหมุนฟรีหรือมีการเบรคอย่างรุนแรง จากลักษณะดังกล่าวถ้าอุปกรณ์ต่างๆ สมบูรณ์ไม่พบสิ่งผิดปกติให้บิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง "OFF" รอ 3 วินาทีแล้วจึงบิดกลับไปตำแหน่ง "ON" สัญญาณต่างๆ ที่เกิดขึ้นควรกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ถ้าไม่เป็นดังกล่าวให้รีบนำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการโดยเร็ว
ข้อควรระวังในการใช้งาน :
1. ขณะที่เครื่องยนต์อุณหภูมิต่ำ ความเร็วรอบจะสูงกว่าปกติ จึงควรระวังในการเข้าเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง อาจเกิดการกระตุก ดังนั้นจึงควรอุ่นเครื่องยนต์ให้ถึงอุณหภูมิทำงานก่อน
2. หลีกเลี่ยงการเร่งเครื่องยนต์ในขณะที่รถจอดอยู่กับที่ เพราะอาจทำให้รถเคลื่อนที่เองได้
3. อย่าเลื่อนคันเกียร์เข้าตำแหน่ง P หรือ R ในขณะที่รถยังเคลื่อนที่อยู่
4. ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ที่ต้องการจะใช้ให้แน่ใจว่าอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ เช่น D, 2, 1 จะเป็นเกียร์เดินหน้า R จะเป็นเกียร์ถอยหลัง จากนั้นปลดเบรคมือและปล่อยคันเหยียบเบรคมาเหยียบคันเร่งให้ รถเคลื่อนที่ (ควรหลีกเลี่ยงการออกรถด้วยความรุนแรงหรือล้อหมุนฟรีอยู่กับที่)
Normal mode กับ Power mode ใช้งานต่างกันอย่างไร
Normal mode กับ Power mode ใช้งานต่างกันอย่างไร
เคยโทรไปสอบถามช่างที่ตรีเพชร อธิบายเรื่องปุ่ม normal กับ power mode ไว้ว่า ปุ่ม normal mode ใช้สำหรับการขับขี่ธรรมดาทั่วไปปุ่ม power mode ใช้สำหรับการขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูง เมื่อใช้ปุ่มนี้ จะทำให้การออกตัวจากแต่ละเกียร์ลากได้ยาวมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ได้ความเร็วรถเต็มกำลัง .../\...
เคยโทรไปสอบถามช่างที่ตรีเพชร อธิบายเรื่องปุ่ม normal กับ power mode ไว้ว่า ปุ่ม normal mode ใช้สำหรับการขับขี่ธรรมดาทั่วไปปุ่ม power mode ใช้สำหรับการขับขี่ที่ใช้ความเร็วสูง เมื่อใช้ปุ่มนี้ จะทำให้การออกตัวจากแต่ละเกียร์ลากได้ยาวมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ได้ความเร็วรถเต็มกำลัง .../\...
วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ดูกราฟ รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์???
จะให้น้ำหนักตัวไหนมันขึ้นอยู่กับว่าคุณถนัดการเล่นรอบไหนเป็นหลักครับุถ้าเป็นเซียน Day Trade อาจจะดูกราฟ รายวัน รายชั่วโมง ราย 10 นาทีโดย 1 วันเป็น Long Term Trend เพื่อดูว่าควรจะถือ Position ต่อหรือว่าควรจะเล่นให้จบในวันนี้ส่วนรายสิบนาทีเอาไว้เพื่อดูการ Develop ของจุด ซื้อในรายสิบนาทีเพื่อหาจังหวะเข้าทำกำไรในรายชั่วโมงครับ (ซึ่งในกรณีนี้ก็จะดูกราฟรายชั่วโมงเป็นหลัก)
ในเชิงเดียวกัน คนที่เล่น รอบใหญ่ เขาอาจจะดูกราฟรายเดือน รายสัปดาห์และ รายวันในทำนองเดียวกัน ก็คือการดูกราฟ รายเดือนในการมอง Trend รายสัปดาห์เพื่อมองแนวโน้มระยะยาว ใช้กราฟรายสัปดาห์เพื่อหาจุดเข้า และกราฟรายวันเพื่อดูการ Develop ของ Buy / Sell Signal
ในเชิงเดียวกัน คนที่เล่น รอบใหญ่ เขาอาจจะดูกราฟรายเดือน รายสัปดาห์และ รายวันในทำนองเดียวกัน ก็คือการดูกราฟ รายเดือนในการมอง Trend รายสัปดาห์เพื่อมองแนวโน้มระยะยาว ใช้กราฟรายสัปดาห์เพื่อหาจุดเข้า และกราฟรายวันเพื่อดูการ Develop ของ Buy / Sell Signal
เนื้อหาการตรวจสอบอาคาร
download เอกสารราชการ
http://www.dpt.go.th/download/
รายละเอียด ข้อมูลการสอบและเนื้อหา ของกรมโยธา
http://www.dpt.go.th/building%5Faudit/
แบบฟอร์มประกอบการยื่นรายงานของ กทม.
http://www.bsa.or.th/webboard/viewtopic.php?t=391
http://www.dpt.go.th/download/
รายละเอียด ข้อมูลการสอบและเนื้อหา ของกรมโยธา
http://www.dpt.go.th/building%5Faudit/
แบบฟอร์มประกอบการยื่นรายงานของ กทม.
http://www.bsa.or.th/webboard/viewtopic.php?t=391
วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ทองคำกับ VAT2
ทองคำกับ VAT
เห็นราคาทองคำทุกวันนี้แล้ว ยอมรับว่าสูงพอสมควรทีเดียว ประเภทที่ว่าขึ้นแล้ว ลงยากซะด้วย
หนุ่มๆ ที่จะแต่งงานโดยใช้ทองคำเป็นสินสอดหรือใช้เป็นของหมั้น ต้องใช้เงินมากหน่อยหากต้องซื้อทองคำมาใช้ในงานนี้ ยังไงเสียไม่ว่าราคาทองคำจะถูกหรือแพงก็ต้องซื้ออยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่จะแต่งงาน มองอะไรก็สวยงามไปหมด ทองคำ ที่ขายมีทั้งทองรูปพรรณและมิใช่ทองรูปพรรณ ส่วนใหญ่คนทั่วไปก็มักจะซื้อทองรูปพรรณ เพราะราคาพอซื้อหาได้ แต่ ถ้าเป็นทองแท่ง คงเป็นรายใหญ่ที่ซื้อมาทำทองรูปพรรณจำหน่าย หรือไม่ก็มีเงินถุงเงินถังเหลือกินเหลือใช้ ซื้อมาเก็งกำไรขายต่อก็ มีเยอะ ก็ไม่ว่ากัน ซื้อขายมากครั้งเท่าใด เงินหมุนเวียนในท้องตลาดก็มีมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงภาษีจากการขายดังกล่าวก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย พูดง่ายๆว่า คนซื้อคนขายต่างก็มีความสุข สบายใจ รัฐก็ได้ภาษีมากขึ้น สำหรับคนที่ชอบสวมใส่สร้อยคอทองคำหรือเครื่องประดับ ประเภทตู้ทองเคลื่อนที่ ไม่ใช่คนสวมใส่ชอบคนเดียวครับ ผู้ร้ายก็ชอบเหมือนกัน ดีไม่ดีชอบมากกว่าผู้สวมใส่เครื่องประดับซะอีก อาจนำพาให้ผู้สวมใส่สร้อยหรือเครื่องประดับถูกทำร้ายบาดเจ็บถึงตายเอาได้ ง่ายๆ ทีนี้ มาดูกันว่าการขายทองคำและการนำเข้าทองคำ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร โดย ปกติการขายทองคำประเภททองรูปพรรณหรือมิใช่ทองรูปพรรณ หรือการนำเข้าทองคำ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ กล่าวคือ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายทองคำ ก็จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ หรือกรณีเป็นผู้นำเข้าทองคำ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บ กฎหมายได้มียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีการใช้ฐานภาษีที่นำมาคำนวณภาษีขายเมื่อขายทองคำแตกต่างไปบ้าง ดังนี้ทอง คำที่มิใช่ทองรูปพรรณ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความประสงค์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขาย ทองคำที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ ทองคำจะต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.50 กรณีเป็น ผู้นำเข้าทองคำ จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐาน เกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้า เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่า ผู้นำเข้าเป็นผู้ซื้อทองคำดังกล่าวจากผู้ขายใน ต่างประเทศกรณีเป็น ผู้ขายทองคำ จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับ การค้าทองคำหรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 311ทอง รูปพรรณ เช่น สร้อยคอ แหวน ฯลฯ หากส่งออกก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 แต่ถ้าขายในประเทศ โดยปกติจะใช้ราคาขายมาคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 แต่เนื่องจากมีร้านทองที่จำหน่ายทองคำโดยรับซื้อและขายกับบุคคลทั่วไป ขณะที่ซื้อจากคนทั่วไปที่นำทองคำมาขายหรือมาแลกเปลี่ยน ก็จะไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แต่เมื่อร้านทองขายออกไปก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายจึงได้กำหนดให้มูลค่าของทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน ในวันที่ขายทองรูปพรรณ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษี (ประกาศอธิบดีภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40) แต่ทั้งนี้ ผู้ขายทองคำต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการขายทองรูป พรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องเสียจากการขายทองรูปพรรณในกรณีนี้จะคำนวณจากราคา ขายทองรูปพรรณรวมกำเหน็จ หักออกด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศกำหนด ผลลัพธ์ส่วนต่าง ให้นำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทองรูปพรรณนั้น ครับ การขายทองคำหรือการนำเข้าที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายสินค้าทั่วไป.
โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=finance&id=239682
เห็นราคาทองคำทุกวันนี้แล้ว ยอมรับว่าสูงพอสมควรทีเดียว ประเภทที่ว่าขึ้นแล้ว ลงยากซะด้วย
หนุ่มๆ ที่จะแต่งงานโดยใช้ทองคำเป็นสินสอดหรือใช้เป็นของหมั้น ต้องใช้เงินมากหน่อยหากต้องซื้อทองคำมาใช้ในงานนี้ ยังไงเสียไม่ว่าราคาทองคำจะถูกหรือแพงก็ต้องซื้ออยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของคนที่จะแต่งงาน มองอะไรก็สวยงามไปหมด ทองคำ ที่ขายมีทั้งทองรูปพรรณและมิใช่ทองรูปพรรณ ส่วนใหญ่คนทั่วไปก็มักจะซื้อทองรูปพรรณ เพราะราคาพอซื้อหาได้ แต่ ถ้าเป็นทองแท่ง คงเป็นรายใหญ่ที่ซื้อมาทำทองรูปพรรณจำหน่าย หรือไม่ก็มีเงินถุงเงินถังเหลือกินเหลือใช้ ซื้อมาเก็งกำไรขายต่อก็ มีเยอะ ก็ไม่ว่ากัน ซื้อขายมากครั้งเท่าใด เงินหมุนเวียนในท้องตลาดก็มีมากขึ้นเท่านั้น รวมถึงภาษีจากการขายดังกล่าวก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย พูดง่ายๆว่า คนซื้อคนขายต่างก็มีความสุข สบายใจ รัฐก็ได้ภาษีมากขึ้น สำหรับคนที่ชอบสวมใส่สร้อยคอทองคำหรือเครื่องประดับ ประเภทตู้ทองเคลื่อนที่ ไม่ใช่คนสวมใส่ชอบคนเดียวครับ ผู้ร้ายก็ชอบเหมือนกัน ดีไม่ดีชอบมากกว่าผู้สวมใส่เครื่องประดับซะอีก อาจนำพาให้ผู้สวมใส่สร้อยหรือเครื่องประดับถูกทำร้ายบาดเจ็บถึงตายเอาได้ ง่ายๆ ทีนี้ มาดูกันว่าการขายทองคำและการนำเข้าทองคำ เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร โดย ปกติการขายทองคำประเภททองรูปพรรณหรือมิใช่ทองรูปพรรณ หรือการนำเข้าทองคำ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ กล่าวคือ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายทองคำ ก็จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ หรือกรณีเป็นผู้นำเข้าทองคำ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมศุลกากรเป็นผู้จัดเก็บ กฎหมายได้มียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือมีการใช้ฐานภาษีที่นำมาคำนวณภาษีขายเมื่อขายทองคำแตกต่างไปบ้าง ดังนี้ทอง คำที่มิใช่ทองรูปพรรณ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีความประสงค์จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหรือการขาย ทองคำที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นทองรูปพรรณหรือของรูปพรรณ ทองคำจะต้องมีน้ำหนักเนื้อทองไม่น้อยกว่าร้อยละ 96.50 กรณีเป็น ผู้นำเข้าทองคำ จะต้องแสดงเอกสารหรือหลักฐาน เกี่ยวกับการนำเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ในเวลายื่นใบขนสินค้า เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร และจะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานจากผู้ขายในต่างประเทศว่า ผู้นำเข้าเป็นผู้ซื้อทองคำดังกล่าวจากผู้ขายใน ต่างประเทศกรณีเป็น ผู้ขายทองคำ จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงการเป็นสมาชิกของสมาคมที่เกี่ยวข้องกับ การค้าทองคำหรืออัญมณี สมาคมใดสมาคมหนึ่ง ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 311ทอง รูปพรรณ เช่น สร้อยคอ แหวน ฯลฯ หากส่งออกก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 แต่ถ้าขายในประเทศ โดยปกติจะใช้ราคาขายมาคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 แต่เนื่องจากมีร้านทองที่จำหน่ายทองคำโดยรับซื้อและขายกับบุคคลทั่วไป ขณะที่ซื้อจากคนทั่วไปที่นำทองคำมาขายหรือมาแลกเปลี่ยน ก็จะไม่มีใบกำกับภาษีซื้อ แต่เมื่อร้านทองขายออกไปก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฎหมายจึงได้กำหนดให้มูลค่าของทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน ในวันที่ขายทองรูปพรรณ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าฐานภาษี (ประกาศอธิบดีภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40) แต่ทั้งนี้ ผู้ขายทองคำต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการขายทองรูป พรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะต้องเสียจากการขายทองรูปพรรณในกรณีนี้จะคำนวณจากราคา ขายทองรูปพรรณรวมกำเหน็จ หักออกด้วยราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศกำหนด ผลลัพธ์ส่วนต่าง ให้นำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 ก็จะได้ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทองรูปพรรณนั้น ครับ การขายทองคำหรือการนำเข้าที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับการขายสินค้าทั่วไป.
โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=finance&id=239682
ขอเล่าเรื่องที่ทำไมทองแท่งถึงไม่มีภาษี VAT
หลายท่านคงจะมีความสงสัยที่ทำไมในอุตสาหกรรมทองของเราจึงมีระบบภาษี VAT ที่แตกต่างจากการค้าแบบอื่นๆ นับว่าเป็นความโชคดีของพวกร้านทองที่เกิดเหตุการณ์ ต้มยำกุ้ง และมีผลกระทบไปทั่วโลก ท่านคงพอจะจำได้ว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ในช่วงที่ท่านนายก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ประเทศไทยได้เกิดภาวะลูกโป่งแตก เพราะเนื่องจากการที่เปิดประเทศไปรับเงินทุนจากประเทศตะวันตก เรียกกันในตอนนั้นว่า BIBF พอถึงเวลาที่ความมั่นใจในประเทศไทยลดลง ต่างชาติที่เป็นเจ้าของเงินได้ทำการเรียกเงินกลับ ทำให้ประเทศพบกับการไหลออกของเงินตราต่างประเทศ ในตอนนั้น ประเทศเราไม่มีเงินทุนสำรองเพียงพอที่จะไปจ่ายเป็นค่าเชื้อเพลิง และค่าสินค้าต่างๆ ทำให้ต้องมีการลดค่าเงินบาท ไปจน 1 ดอลล่าห์สหรัฐมีค่าเท่ากับ 52 บาท หลังจากรัฐบาลคุณชวลิตได้ลาออกไป รัฐบาลคุณชวนได้เข้ามาบริหารต่อ ก็ได้มีพระที่ประชาชนเคารพออกมาระดมทุนเพื่อใช้เก็บเป็นเงินคงคลัง คือ หลวงตามหาบัว ในตอนนั้นมีกระแสชาตินิยมแรงมาก และกระทรวงการคลัง ได้ออกความเห็นซึ่งทางสมาคมค้าทองคำได้พยายามอธิบายให้ทางการทราบเสมอว่าทองคำเป็นเงินตราประเภทหนึ่ง ไม่สมควรที่จะให้มีการคิดภาษี VAT กระทรวงการคลังเลยมีคำสั่งมาที่กรมสรรพากร ให้หาวิธีที่จะคิดให้ทองคำไม่มีภาษี VAT มีการใช้ หน่วยงานเข้ามาทำวิจัย คือ TDRI ผลการศึกษาพบว่าที่สมาคมกล่าวอ้างนั้น เป็นความจริง จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นระหว่าง กรมสรรพากร และสมาคมค้าทองคำ เป็นเวลากว่า 2ปีที่มีการระดมสมอง จนสุดท้ายกรมสรรพากรได้ออกเป็นประกาศกระทรวง ในปี พ.ศ. 2543 ให้ทองคำแท่งมีภาษีเป็น ศูนย์ และในเมื่อต้นทุนวัตถุดิบเป็นศูนย์ การคิดภาษีของทองรูปพรรณก็ต้องมีวิธีที่ต่างไป โดยทางกรมสรรพากรยินยอมให้มีการเอาราคาทองรูปพรรณรับคืนที่ประกาศโดยสมาคมค้าทอง ไปเครดิตแล้วเอาส่วนต่างมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามอัตราที่กำหนด ด้วยเหตุประการนี้พวกเราจึงมีภาษีที่เป็นประโยชน์ต่อการค้าของอุตสาหกรรมทองของไทย แต่เนื่องจากสมาคมไม่อยากให้ประโยชนืนี้ตกไปสู่โรงงานทองของต่างชาติ สมาคมจึงเสนอไปยังกรมสรรพากรให้มีการยกเนภาษีกับทอง 96.5% ขึ้นไป เนื่องจากเราทราบว่าต่างชาติไม่สามารถผลิตทองคำรูปพรรณที่มีความบริสุทธิ์มากๆได้ เพราะว่าต่างชาติใช้เครื่องจักรในการผลิต แต่ก็มีความพยายามตลอดมาให้มีการยกเว้นส่วนประกอบต่างในการผลิตทองรูปพรรณ อาทิ ลวดทองที่รีดมาแล้ว เป็นต้น และก็มีหลายสมาคมที่อยากได้ภาษีแบบเรา ได้มีการประชุมกันหลายครั้ง เพื่อที่จะทำการยกเลิกภาษีใน เม็ดเงิน แต่เนื่องจากเงินไม่มีราคารับคืน ทางกรมสรรพากรจึงไม่ยินยอมให้มีการคิดแบบเดียวกับทองคำพวกเราเมื่อทราบถึงความเป็นมาของระบบภาษีแล้ว ขอให้ชื่นชมกับบุคคลต่าๆที่ได้เสียสละเวลาและมีความกล้าที่จะยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับกรมครับสรรพากร ซึ่งพอเอ๋ยชื่อแล้วก็ไม่มีใครอยากไปตอแยด้วย
ไฟไหม้รพ.จุฬา-เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากอาคาร
ไฟไหม้รพ.จุฬา-เคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากอาคาร
01-02-52 01:14 น.
ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา ร.ต.อ.สมเกียรติ รวมเงิน พนง.สอบสวน สน.ปทุมวันรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อาคารวชิรญาณสามัคคีพยาบาร รพ.จุฬา ถ.ราชดำริ แขวงราชดำริ เขตปทุมวัน จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมผู้บังคับบัญชา และนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่า กทม. รถดับเพลิงกว่า 50 คัน
ที่เกิดเหตุเป็นอาคารสูง 6 ชั้น เพลิงลุกไหม้บริเวณชั้น 1 มีกลุ่มควันสีดำพวยพุ่งออกมาหนาแน่น เจ้าหน้าที่รพ.จุฬาต้องเร่งขนย้ายผู้ป่วยกันอย่างโกลาหล เนื่องจากมีผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมนอนรักษาตัวบริเวณชั้น 4-5 รวม 40 คน นอกจากนี้ยังมีสมเด็จพระสังฆราชฯ พักรักษาตัวอยูชั้นที่ 6 ทำให้บรรยากาศรพ.เป็นไปอย่างแตกตื่นและโกลาหลของผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่ใช้เวลาดับเพลิงประมาณ 10 นาที จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้
รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผอ.รพ.จุฬา ฝ่ายบริหาร กล่าวว่า อาคารดังกล่าว เป็นของแผนกวิจัยโรคไต เพลิงได้ลุกไหม้ห้องวิจัยโรคไต ซึ่งเป็นห้องปฎิบัติการมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงานอยู่ภายในห้อง ขณะเกิดเหตุไม่มีใครอยู่ในห้อง สำหรับอาคารดังกล่างมีผู้ป่วยพักอยู่ชั้น 4-5 โดยชั้น 4 มีผู้ป่วยหญิงจำนวน 20 คน ชั้น 5 มีผู้ป่วยชายจำนวน 20 คน ส่วนชั้น 6 เป็นชั้นมหากรุณาธิคุณมีสมเด็จพระสังฆราชฯนอนรักษาตัวอยู่ ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทีมแพทย์ของรพ.จุฬา ได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชออกจากอาคารดังกล่าวอย่างปลอดภัยทุกคน
หลังเกิดเหตุได้ประสานเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานให้มาตรวจสอบหาสาเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ เบื้องต้นเท่าที่ตรวจสอบสันนิษฐานว่าไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเกิดจากอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการเปิดเครื่องทิ้งไว้ อย่างไรก็ตามจะต้องรอผลพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานอีกครั้ง
01-02-52 01:14 น.
ช่วงหัวค่ำที่ผ่านมา ร.ต.อ.สมเกียรติ รวมเงิน พนง.สอบสวน สน.ปทุมวันรับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อาคารวชิรญาณสามัคคีพยาบาร รพ.จุฬา ถ.ราชดำริ แขวงราชดำริ เขตปทุมวัน จึงรุดไปตรวจสอบพร้อมผู้บังคับบัญชา และนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่า กทม. รถดับเพลิงกว่า 50 คัน
ที่เกิดเหตุเป็นอาคารสูง 6 ชั้น เพลิงลุกไหม้บริเวณชั้น 1 มีกลุ่มควันสีดำพวยพุ่งออกมาหนาแน่น เจ้าหน้าที่รพ.จุฬาต้องเร่งขนย้ายผู้ป่วยกันอย่างโกลาหล เนื่องจากมีผู้ป่วยแผนกอายุรกรรมนอนรักษาตัวบริเวณชั้น 4-5 รวม 40 คน นอกจากนี้ยังมีสมเด็จพระสังฆราชฯ พักรักษาตัวอยูชั้นที่ 6 ทำให้บรรยากาศรพ.เป็นไปอย่างแตกตื่นและโกลาหลของผู้ป่วย แพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่ใช้เวลาดับเพลิงประมาณ 10 นาที จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้
รศ.นพ.ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ รองผอ.รพ.จุฬา ฝ่ายบริหาร กล่าวว่า อาคารดังกล่าว เป็นของแผนกวิจัยโรคไต เพลิงได้ลุกไหม้ห้องวิจัยโรคไต ซึ่งเป็นห้องปฎิบัติการมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงานอยู่ภายในห้อง ขณะเกิดเหตุไม่มีใครอยู่ในห้อง สำหรับอาคารดังกล่างมีผู้ป่วยพักอยู่ชั้น 4-5 โดยชั้น 4 มีผู้ป่วยหญิงจำนวน 20 คน ชั้น 5 มีผู้ป่วยชายจำนวน 20 คน ส่วนชั้น 6 เป็นชั้นมหากรุณาธิคุณมีสมเด็จพระสังฆราชฯนอนรักษาตัวอยู่ ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทีมแพทย์ของรพ.จุฬา ได้ช่วยกันเคลื่อนย้ายผู้ป่วย รวมทั้งสมเด็จพระสังฆราชออกจากอาคารดังกล่าวอย่างปลอดภัยทุกคน
หลังเกิดเหตุได้ประสานเจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานให้มาตรวจสอบหาสาเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ เบื้องต้นเท่าที่ตรวจสอบสันนิษฐานว่าไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งเกิดจากอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีการเปิดเครื่องทิ้งไว้ อย่างไรก็ตามจะต้องรอผลพิสูจน์จากกองพิสูจน์หลักฐานอีกครั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)